ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการโดยใช้แบบจำลอง CAPM
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงกับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของหลักทรัพย์หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ และ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการกับอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลักทรัพย์ที่ใช้ในการศึกษาคือ หลักทรัพย์ในหมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ จำนวน 6 หลักทรัพย์ ได้แก่ ASIA, CENTEL, DTC, ERW, LRH และ SHANG ทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเป็นรายวัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 รวมระยะเวลา 587 วันทำการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ แบบจำลอง Capital Asset Pricing Model (CAPM)
ผลการศึกษาพบว่า หลักทรัพย์ทุกตัวที่ทำการศึกษามีความเสี่ยงสูงกว่าตลาด โดยมีหลักทรัพย์ที่นักลงทุนควรจะลงทุนซื้อมี 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ ASIA, CENTEL, DTC, ERW และ SHANG โดยหลักทรัพย์เหล่านี้มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็น มีจำนวน 1 หลักทรัพย์ คือ LRH
The purposes of this research were 1) to study the relationship between rate of return and risk on securities in the tourism and leisure sector 2) to analyze and compare between the actual rate of return and the expected rate of return on securities in the tourism and leisure sector and 3) to analyze the comparison between rate of return and risk on securities in the tourism and leisure sector, and rate of return and risk on the Stock Exchange of Thailand (SET). The securities in this study included ASIA, CENTEL, DTC, ERW, LRH and SHANG. The secondary data were collected from January 1, 2013 to May 29, 2015 (587 official working days) and analyzed by Capital Asset Pricing Model (CAPM).
The result of study found that the risk of all securities was higher than the market. There were 5 securities including ASIA, CENTEL, DTC, ERW, and SHANG should be invested by investors according to their undervalued stocks, while LRH was only one security should not be made decision to invest according to its overvalued stock.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา