การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรค เครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วิโรจน์ เซมรัมย์
กฤศวิสุทธิ์ ธีวสุเกิดมงคล

บทคัดย่อ

           การวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์  พัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้รับบริการ ผู้ปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน   และควบคุมวัณโรค ผู้รับผิดชอบหลัก ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ผู้สัมผัสร่วมบ้าน    ผู้ร่วมวิจัย และผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 1,680 คน  โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.5 มีค่าความเที่ยงตรงมากกว่า 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Percentage differences และ PNImodified และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
             ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรค  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และการสนทนากลุ่มส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้ครอบคลุม  การควบคุมการแพร่กระจายซื้อวัณโรคในสถานพยาบาล การสนับสนุนหน่วยงานภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคและเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนาน  2) รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังฯ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและการศึกษาความต้องการ 2) การจัดทำหลักสูตร การอบรมเชิงปฏิบัติการ  3) การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้เกี่ยวข้อง 4) การจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการคัดกรอง ค้นหาและการส่งต่อผู้สัมผัส กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเพื่อให้เข้าถึงการรักษา 5) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง  6) การประสานงานส่งต่อข้อมูลทั้งในสถานบริการและชุมชน และ7) การนิเทศ กำกับและประเมินผลในประเด็นสำคัญที่มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินรูปแบบฯ พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง โดยรวมเพิ่มขึ้นคิดเป็น 33.8% และคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับดี คิดเป็น 31.8% และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง โดยรวมเพิ่มเป็น 32.3% และคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูงเพิ่มขึ้น   คิดเป็น 72.1%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย ประจำปี 2563.กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค; 2563.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ณัฐต์ณิชา หนูทอง. (2566). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลจำปี อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดอุดรธานี. อุดรธานี. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไฮ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี.

สมลักษณ์ หนูจันทร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 31 (4), 665-673.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2564). รายงานผลการดำเนินงานวัณโรค พ.ศ.2464. งานควบคุมวัณโรค.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2567). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2569. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัณโรค.

องค์การอนามัยโลก. (2563). รายงานวัณโรคโลกปี 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.who.int/tb/publications/global _report/ en/

โสภิต ชาลี, สุวรรณี สิริเศรษฐภักดี และ เกรียงชัย เอกา. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานในชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 28 (3), 109-120.

American Medical Association. (2015). 6 simple ways to master patient communication. Online. (Accessed February 15, 2024). Available: https://wire.ama-assn.org/ education/6-simple-ways-master-patient-communication

Gebremariam RB, Wolde M, Beyene A. (2021). Determinants of Adherence to Tuberculosis Treatment in Adult Patients in Gondar City, Ethiopia: A Health Belief Model Perspective. Journal of Health and Population Nutrition, 40 (1), 49.

GiveWell. (2023). Community-Based Tuberculosis Household Contact Management. Online. From: https://www.givewell.org

Huddart S, Bossuroy T, Pons V, Baral S, Pai M, Delavallade C. (2018). Knowledge about Tuberculosis and Infection Prevention Behaviors: A Multicity Study in Nine Cities in India. Journal of Prevention and Health Promotion, 13 (10), e0206245.

Parwati NM, Bakta IM, Januraga PP, Wirawan IM**. (2021). Using the Health Belief Model to Predict Tuberculosis Prevention Behaviors Among Household Contacts During theCOVID-19 Outbreak in the Border Areas of Northern Thailand. Journal of Health and Disease Prevention, 28 (4), 324-332.

PLOS Global Public Health. (2023). Adherence to and Experience of Community Tuberculosis Preventive Therapy. PLOS Global Public Health, Online. Accessed February 15, 2024). Available:https://journals.plos.org

The Union. (2023). The Union TB Guide on Patient-Centered Care and Prevention. Online. Accessed February 15, 2024). Available: https://theunion.org

World Health Organization. (2017). WHO community engagement framework for quality,people-centered and resilient health services. World Health Organization. Online. Accessed 1 June 2023. Available: https://apps.who.int/iris/handle/10665 /259280Here are the English translations for the references provided: