โมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของยุวเกษตรกร ในสถานศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

Main Article Content

ชีวรัตน์ ช่ำชอง
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
บำเพ็ญ เขียวหวาน
ทิพวรรณ ลิมังกูร

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของยุวเกษตรกร 2) ผลสัมฤทธิ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) พัฒนาโมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับยุวเกษตรกร 4) ประเมินโมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
           การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ศึกษาคือผู้เกี่ยวข้องกับกลุ่มยุวเกษตรกรในสถานศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ จำนวน 8,129 คน กลุ่มตัวอย่าง 200 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ครูเกษตร 519 คน กลุ่มตัวอย่าง 50 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ยุวเกษตรได้รับความรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมาก 2) ความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเรียนรูปแบบบูรณาการภาพรวมอยู่ในระดับมาก ยุวเกษตรกรเห็นควรส่งเสริมให้แสดงความสามารถด้านทักษะชีวิตระดับมากที่สุด 3) โมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของยุวเกษตรกรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) แหล่งความรู้  (2) เนื้อหาความรู้เน้นการผลิตทางเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3) ใช้ช่องทางการเรียนรู้หลากหลาย (4) ผู้เรียนนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 4) ผลการประเมินโมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า มีความเหมาะสม เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กระทรวง ศึกษาธิการ.

ณัฐพร พุทธขิณ. (2566). แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ธัญลักษณ์ มณีวรรณ. (2557). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตร-มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

บุญชุ่ม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. โครงการตำราคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2561). การสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยทางส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร. ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัย และสถิติเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร (หน่วยที่ 7). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พระดนัยภพ ชุติธมฺโม (เสาะพบดี) .(2563). บทบาทของเทศบาลตำบลในการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา. (2554). กระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายการเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาระดับอำเภอ อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

สกุล วงษ์กาฬสินธุ์. (2562). ศึกษาศักยภาพทุนชุมชนในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง อำเภอ เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจการศึกษาปี 2566. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา http://www.oae.go.th/download/journal/trends_FEB2557.pdf

Andrew Kitchenham. (2008). Accumulating Support for Transformative Learning. Journal of Transformative Education, 155-158.

Kegan, R. (1982). The Evolving Self: Problem and Process in Human Development. Cambridge. Harvard University.

Mezirow, J. (2003). Transformative learning as discourse. Journal of Transformative Education, 1 (1), 58-63.

Prochaska, J. O., Redding, C. A., & Evers, K. (2002). The Transtheoretical Model and Stages of Change. In K. Glanz.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row Publications.