ความต้องการรับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

นริศรา อินทะสิริ
บัณฑิตา ทองชู

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความต้องการรับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรผู้ปลูกยางพาราและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการรับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรผู้ปลูกยางพารา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ในเขตตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรKrejcie & Morgan ได้จำนวน 314 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทำการสุ่มแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า


ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการรับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรทั้ง 8 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย4.56) ความต้องการที่มีระดับมากที่สุดคือด้านความรู้ในประเด็นการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการรับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตร พบว่า มี 4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ 1) ประสบการณ์ในการปลูกยาง มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความต้องการรับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร 2) การรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรจากเพื่อนเกษตรกร 3) การรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และ 4) การรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรจากสื่อสังคม(social media) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความต้องการรับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตร ผลการศึกษานี้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรโดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ด้านการแปรรูปยางพารา การใช้สื่อสังคม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเครือข่ายเพื่อนเกษตรกรในการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการปรับแนวทางการส่งเสริมให้เหมาะสมกับเกษตรกรที่มีประสบการณ์สูงเพื่อช่วยให้การส่งเสริมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติ ในงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส.เสริมมิตรการพิมพ์ จำกัด.

บุหลัน กุลวิจิตร. (2560). สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. Veridian E-Journal. SilpakornUniversity ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (3), 2440-2454.

พุฒิสรรค์ เครือคำ, พหล ศักดิ์คะทัศน์, ปภพ จี้รัตน์ และ นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการปลูกไม้ผลในระบบอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตรพระวรุณ. ปีที่ 15

รุ่งทิวา วงศ์รักษ์งาน เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ และจินดา ขลิบทอง (2560). การส่งเสริมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านการเกษตรของเกษตรกร ตาบลมิตรภาพ อาเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 10,วันที่ 5 ธันวาคม, 1161-1170.

ศิรินภา จามรมาน. (2544). “จิตวิทยากับงานส่งเสริมการเกษตร” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การเป็นผู้นำมนุษย์สัมพันธ์และจิตวิทยาสำหรับเกษตรกร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี.

สถาบันวิจัยยาง. (2565). วารสารยางพารา. 44 (1), 34.

สมาคมยางพาราไทย. (2566). รายงานสถานการณ์ยางพาราประจำปี2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566 แหล่งที่มา: https://www.thainr.com/th/index.php?detail=situation&select month =01.

สำนักงานเกษตรอำเภอเขาชัยสน. (2565). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ปี 2566-2570. จังหวัดพัทลุง.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). ยางพารา: เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่กรีดได้ ผลผลิต และผลผลิตต่อเนื้อที่กรีดได้ รวมทั้งประเทศ รายภาค และรายจังหวัด ปี 2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/view/1//TH

สุพัฒตรา คณานิตย์, ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และ ชัยชาญ วงษ์สามัญ (2560). ความต้องการของเกษตรกรต่อการได้รับการพัฒนาการเกษตรจากองค์การบริหารส่วนตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 45 ฉบับพิเศษ1, 1515-1521

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ฐานบัณฑิต.

อภิชัย มาลีกัน และ พรชุลีย์ นิลวิเศษ. (2560). สภาพการผลิตและความต้องการการส่งเสริมการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในอาเภอท่าแพ จังหวัดสตูล. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ แพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560, 3820-3827. ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561, 85-93.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test. (5th ed.). New York :Harper Collins.

Knowles, M. S. (1978). The adult learner: A neglected species. Houston, TX: Gulf.,207.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970).Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Piyanead Neadkhun, Yos Borisutdhi, Suchint Simarak, and Chaiteera Panpakdee. (2023). COPING STRATEGIES OF RUBBER FARMERS IN BUENG KAN, THAILAND DURING A PERIOD OF PRICE FLUCTUATIONS. Humanities, Arts and Social Sciences Studies. 23 (2), 273–283.