บทบาทของคณะสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ด้วยศีล 5

Main Article Content

ปราณีต ม่วงนวล
พระมหาสมัคร มหาวีโร
พระปริยัติวชิรกวี
สุวรรณ ม่วงนวล
จริยาภรณ์ เจริญชีพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ 1) ระดับการปฏิบัติตามหลักศีล 5 2) บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) ระดับคุณภาพชีวิต และ 4) เสนอแนวทางในการปฏิบัติกิจวัตรของคณะสงฆ์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเขตบางซื่อ ด้วยศีล 5 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน ทำบุญที่วัดในเขตบางซื่อ ได้ตามวิธีของ Yamane จำนวน 399 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน กรรมการวัด และประชาชน จาก 5 วัด รวม 20 รูป/คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่า IOC = 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ค่าที ค่าเอฟ และ LSD
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. การปฏิบัติตามหลักศีล 5 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และศีลข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือศีลข้อ 3 ละเว้นการผิดลูกเมียผู้อื่น มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
          2. บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยภาพรวมและรายด้าน พระสงฆ์มีบทบาทการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการศาสนศึกษา
          3. คุณภาพชีวิตของประชาชน โดยภาพรวมประชาชนมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสังคม
           4. แนวทางในการปฏิบัติกิจวัตรของคณะสงฆ์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเขตบางซื่อ ด้วยศีล 5 คือ การปฏิบัติกิจวัตรของพระสงฆ์ได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นแบบอย่างที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะสงฆ์เขตบางซื่อ. (2566). คำกล่าวถวายรายงาน การตรวจการคณะสงฆ์เขตบางซื่อ ประจำปีพุทธศักราช 2566. รายงานการตรวจการคณะสงฆ์เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. นำเสนอพระธรรมวชิรมุนี วิ. กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร. เอกสารอัดสำเนา.

ปราณีต ม่วงนวล. (2559). การวิเคราะห์พุทธวจนะในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 7 (2), 86-98.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2540). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระปลัดสุเทพ สุเทโว (ทองแคล้ว). (2554). บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำในตำบลดอนคา อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5: รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (2) (ฉบับพิเศษ), 435-448.

พระมหาสมัคร มหาวีโร, พระปริยัติวชิรกวี, ปราณีต ม่วงนวล, สุวรรณ ม่วงนวล และจริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2567). บทบาทของคณะสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ด้วยศีล 5. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. ได้รับทุนอุดหนุนจากวัดบางโพโอมาวาสและบริษัทภูมิธารา จำกัด.

พระเมธาวินัยรส พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร และสาลินี รักกตัญญู. (2563). พุทธศาสน์ศึกษาเพื่อการสร้างสังคมสันติสุข. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). การบริหารวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

มติชนออนไลน์. (2566). ระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ : ปัญหาอาชญากรรมที่มีความผิดอาญาในพื้นที่เขตบางซื่อ-ดุสิต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ สืบค้น 5 ตุลาคม 2566.แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4238418.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานเขตบางซื่อ. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565 สำนักงานเขตบางซื่อ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตบางซื่อ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2567). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www. nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.

Best, J.W., & Kahn, J.V. (1989). Research in Education. (16th ed.)Newdelli: Prentice-hall.

Cronbach Lee J. (1970). Essential of Phychological Testing. New york: Harper & Row.

Denzin, Norman K. (1970).The Research Act in Sociology : A Theoretical Introduction toSociological Methods. Butterworth’s (London), England.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

McCall, S. (1975). Quality of life. Social Indicators Research, 2: 229-48.

Xueqing Li and Praneet Muangnual. (2023). Factors Influencing the Happiness of Preschool Teachers in Weifang City. Proceedings of the 2023 8th International Conference on

Modern Management and Education Technology (MMET 2023). Atlantis Press.

Online. 1st February 2024. From: https://www.atlantis-press.com/proceedings/mmet-

/125994608 DOI 10.2991/978-2-38476-146-3_64.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.