แนวทางการจัดเก็บองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการจัดเก็บองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นถิ่น และแนวทางการจัดเก็บองค์ความรู้ด้านอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนตำบลบางเตย วิธีการศึกษาเป็นระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มผู้สูงอายุระหว่าง 60 – 80 ปี ของชุมชนตำบลบางเตย จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในชีวิตประจำวันในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จำนวน 21 ชนิด ส่วนพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ประโยชน์เป็น ใบ ลำต้น ราก ผล เหง้า และน้ำยาง สรรพคุณรักษาอาการเป็นยารักษาภายนอกและภายใน ชุมชนมีผู้ทรงภูมิปัญญาด้านสมุนไพร จำนวน 3-5 คน การถ่ายทอดองค์ความรู้จากหมอพื้นบ้านที่มีประสบการณ์และการถ่ายทอดตามแบบบรรพบุรุษ โดยการลงมือปฏิบัติตามโรคที่ใช้สมุนไพรรักษาส่วนใหญ่ เป็นการป้องกันโรค ดูแลสุขภาพ อาการแก้ไข้ อาการอักเสบ แผลพุพอง อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โดยการใช้เป็นยาสมุนไพร และนำมาปรุงเป็นอาหาร ผู้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญในการปลุกจิตสำนึกให้คนชุมชนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของสมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร พัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้าน 2) แนวทางการจัดเก็บองค์ความรู้ด้านอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนตำบลบางเตย มีความต้องการสาธารณสุขอำเภอมาแนะนำความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้าน มีการจัดทำแผ่นพับความรู้สมุนไพร เชิญวิทยากรอบรมความรู้การใช้สมุนไพร สรรพคุณ รวมทั้งการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรเหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชน
Article Details
References
จันทร์จิรา ตรีเพชร, ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา และวราวุฒิ มหามิตร. (2564). การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรท้องถิ่นตามนิเวศธรรมชาติลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5 (1), 213-224.
ชัชชญา สมมณี และสามารถ ใจเตี้ย. (2564). การใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการรักษาโรคของประชาชน ชุมชนสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 19 (2), 508-522.
ฐาปนี เลขาพันธ์ และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลดงชี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 8 (1), 12-25.
ดิษฐพล ใจชื่อ, ณฐพร คำศิริรักษ์ และอังควีร์ จันทะโคตร. (2564). ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 36 (2), 251-264.
นวพรรษ ผลดี และวรชาติ โตแก้ว. (2560). ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนพื้นที่ป่าชุมชน บ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นำพล แปนเมือง, ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์ และ เพชรรัตน์ รัตนชมภู. (2566). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านกรณีศึกษา : ตำบลโป่งเปือย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 12 (1), 37-50.
ปฎิภาณี ขันธโภค และเนตรนภา สาสังข์. (2565). ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 28 (1), 114-127.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29 (2), 34-38.
ประภาศรี ธนากูล, สุวารีย์ ศรีปูณะ และสมจิตต์ สุพรรณทัสน์. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านโดยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9 (2), 138-151
พรปวีณ์ คำหลวง และเกสร สำเภาทอง. (2561). ภูมิปัญญาการบริโภคผักพื้นบ้านเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพของชาวบ้าน ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วารสารธรรมศาสตร์เวชสาร. 19 (1), 90-98.
มัลลิกา ทองเอม, ธนัชพร หาได้, ธีรศิลป์ กันธา และอังคณา ตาเสนา. (2566). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 8 (1), 116-128.
รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ และประภากร ศรีสว่างวงศ์. (2566). รูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16 (4), 104-115.
ฤทธิชัย แกมนาค, พระครูวิมลศิลปะกิจ และสุภัชชา พันเลิศพาณิชย์. (2561). การส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชน. รายงานวิจัย. วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริวรรณ ประสพสุข. (2566). การศึกษาภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชน กรณีศึกษาตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 14 (2), 576-589.
สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2566-2570). ฉะเชิงเทรา: สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา.
สุนทรี จีนธรรม, จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท, รัชนีวรรณ จีนธรรม และประภัสรา ธรรมวัชรางกูร. (2567). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของชุมชนในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 14 (1), 183-199.
ไสว หวานเสร็จ และดารณี อ่อนชมจันทร์. (2561). การศึกษาองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรรักษาโรค : กรณีหมอพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 16 (3), 420-435
อัชฌา วารีย์ และนงลักษณ์ วุฒิปรีชา. (2561). การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพรในผู้สูงอายุบ้านท่าข้าม ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 45 (2), 64-75.