บทบาทของสหกรณ์ชุมชนกับการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนชุมชนประมงพื้นบ้าน

Main Article Content

อนุวัตร วอลี
ซากี นิเซ็ง
รอปีอะ กือจิ
อานีสาห์ บือฮะ
ฮัสนะ บุญทวี
ฮุสนา ตีมุง
อัดนัน อัลฟารีตีย์
รอวียะห์ อาเซ็งบาราแม

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้เพื่อค้นหาแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สินและเพื่อค้นหาตัวแบบนวัตกรรมการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของชาวประมงพื้นบ้านจำนวน 226 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีการรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผ่านการลงพื้นที่และสำรวจบริบทเชิงพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าโมเดลตัวแบบนวัตกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านการจัดการหนี้สินและการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการรายได้ของชาวประมงพื้นบ้านที่มีหนี้สินผูกพันกับระบบเถ้าแก่หรือระบบอุปถัมภ์ผ่านกลไกการเข้ามาช่วยเหลือของสหกรณ์ชุมชน มีศักยภาพและมีโอกาสที่จะทำให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถหลุดพ้นจากภาวะหนี้สินนอกระบบที่ผูกพันกับเถ้าแก่หรือผู้อุปถัมภ์มาเป็นระยะเวลาช้านานได้ แต่ด้วยขีดความสามารถที่จำกัดของสหกรณ์ชุมชนจึงจำเป็นที่จะต้องดึงศักยภาพหรือจุดแข็งของสหกรณ์อิสลามในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการหนุนเสริมแก้ปัญหานี้ด้วย นอกจากนี้เมื่อมีการพิจารณาตัวแบบดังกล่าวที่ทีมวิจัยได้นำเสนอก็พบว่า แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินของชาวประมงพื้นบ้านที่ปรากฏตามกระบวนการที่ได้นำเสนอในตัวแบบดังกล่าวก็ยังมีความยั่งยืนอีกด้วย เนื่องจากกลไกในการแก้ปัญหาไม่ได้ใช้กลไกการเข้ามาช่วยเหลือจากสหกรณ์อิสลามที่มีความเข้มแข็งเพียงอย่างเดียว แต่นักวิจัยได้ออกแบบกลไกสำคัญผ่านการใช้ต้นทุนเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่เป้าหมายร่วมด้วย ดังนั้นการแก้ปัญหาหนี้สินชาวประมงพื้นบ้านที่ผูกพันกับระบบเถ้าแก่หรือระบบผู้อุปถัมพ์ที่ฝังอยู่ในชุมชนนี้จึงมีโอกาสสำเร็จสูง และสามารถนำโมเดลนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาลักษณะเดียวกันกับชุมชนประมงพื้นบ้านอื่นๆ ที่มีบริบทชุมชน ต้นทุนเดิมในชุมชนและสภาพปัญหาที่ใกล้เคียงกับชุมชนเป้าหมายที่นักวิจัยได้ศึกษาในงานวิจัยได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวิน มุสิกา สุชนนี เมธิโยธิน และบรรพต วิรุณราช. (2562). แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (1), 111-125.

ธัญญพัทธ์ วัฒนจิรพันธุ์ และจงจิต ลิอ่อนรันย์.(2564).แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มเกษตรกรตำบลไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (6), 298–312.

พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ และคณะ.(2562). โครงการสังเคราะห์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.

Bene, Christhope. (2003). When Fishery Rhymes with Poverty: A First Step Beyond the Old Parading on Poverty in Small-Scale Fisheries. World Development. 31 (6), 949-975.

Channarongkol, S. (2011). Approvat of the Farme’s Welfare fund 500 milion bath. Daliy Agricultural News. Bangkok: National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards.

Kusnadi. (2003). Akar kemiskinan komunitas Nelayan. LKIS.Yokyakarta.

Mengge, B.(2019). Fishing Community in Patron-Client Relationship and Exploitation (A Case of Smaii-Scale Fishing Community in Makassar). International journal of Humanities and Social Science. 9 (2), 110 - 117.

Retnowati, E. (2011). Komunitas Nelayan Indonesia dalam Pusaran Kemiskinan Struktural (Pespektif Sosial, Ekonomi dan Hukum).Perspektif. 3, 149-159.

Stein, Howard F. (1984). A Note on Patron-Client Therory. Ethos Journal .12 (1), 30-36.