วาทกรรมนโยบายความเป็นอิสระท้องถิ่นของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมนโยบายความเป็นอิสระท้องถิ่นของไทย การศึกษาใช้การวิเคราะห์วาทกรรมนโยบาย โดยใช้เอกสารเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกออนไลน์และการสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นนำข้อมูลมาให้รหัสข้อมูล จัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและตีความข้อมูล
การศึกษาพบว่านโยบายความเป็นอิสระท้องถิ่นของไทยสะท้อนข้อจำกัดในความหลากหลายของรูปแบบการปกครองท้องถิ่น ความสามารถในการปกครองท้องถิ่น ความสามารถในการจัดการท้องถิ่น ความสามารถทางการเมืองและการขาดหลักประกันความเป็นอิสระท้องถิ่น ข้อจำกัดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นวาทกรรมนโยบายความเป็นอิสระท้องถิ่นจากการกำหนดบทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นอิสระท้องถิ่นโดยอ้อม และปราศจากการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดความเป็นอิสระท้องถิ่นอย่างแท้จริง ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินของไทย ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ความเข้มข้นของการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของความเป็นอิสระท้องถิ่น จึงทำให้นโยบายความเป็นอิสระท้องถิ่นของไทย ซึ่งกล่าวถึงการส่งเสริมความหลากหลายรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นท้องถิ่น ความสามารถในการปกครองท้องถิ่น ความสามารถในการจัดการท้องถิ่น ท่ามกลางการขาดหลักประกันความเป็นอิสระท้องถิ่น กลายเป็นเพียงวาทกรรมนโยบาย โดยความเป็นอิสระท้องถิ่นขึ้นอยู่กับแรงกดดันของประชาชนเป็นหลัก โดยหากปราศจากแรงกดดันดังกล่าว ความเป็นอิสระท้องถิ่นย่อมมีความอ่อนแอและถูกแทนที่ด้วยการรวมศูนย์อำนาจของส่วนกลาง
Article Details
References
ชำนาญ จันทร์เรือง. (2565). ปัญหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1008930
ยศธร ทวีพล. (2565). วาทกรรมนโยบาย: เทคนิคการตีความและวิพากษ์สู่การสร้างข้อโต้แย้งทางทฤษฎี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 48 (2), 31-42.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นอิสระท้องถิ่นของไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (1), 293-314.
Allan, E. J. & Tolbert, A. R. (2019). Advancing Social Justice with Policy Discourse Analysis. In K. K., Strunk & L. A., Locke (eds.), Research Methods for Social Justice and Equity in Education (pp. 137-150). Cham: Palgrave Macmillan.
Alok, V. N. (2021). Fiscal Decentralization in India: An Outcome Mapping of State Finance Commissions. Singapore: Palgrave Macmillan.
Anayochukwu, G. I. & Ani, V. A. (2021). Evaluation of Local Government Administration and Governance in Nigeria. Local Administration Journal, 14 (4), 339-357.
Carusi, F. T. & Niwa, T. (2020). Learning not to be Poor: The Impossible Position of Teachers in Aotearoa New Zealand Education Policy Discourse. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 48 (1), 30–44.
Debela, K. W. (2020). Local Governance in Switzerland: Adequate Municipal Autonomy Cumintergovernmental Cooperation?. Cogent Social Sciences, 6 (1), 1763889.
Ding, Y., McQuoid, A. & Karayalcin, C. (2019). Fiscal Decentralization, Fiscal Reform, and Economic Growth in China. China Economic Review, 53 (C), 152-167.
Franzke, J. & Schaap, L. (2021). Beyond Charter and Index: Reassessing Local Autonomy. In T. Bergström, J. Franzke, S. Kuhlmann & E. Wayenberg (eds.), The Future of Local Self-Government: European Trends in Autonomy, Innovations and Central-Local Relations (pp. 31-42). London: Palgrave Macmillan.
Gasper, D. & Apthorpe, R. (1996). Introduction: Discourse Analysis and Policy Discourse. The European Journal of Development Research, 8 (1), 1-15.
Hernes, V. (2017). Central Coercion or Local Autonomy? A Comparative Analysis of Policy Instrument Choice in Refugee Settlement Policies. Local Government Studies, 43 (5), 798-819.
Isufaj, M. (2014). Decentralization and the Increased Autonomy in Local Governments. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 109 (1), 459-463.
Kaminski, R. (2018). The Autonomy of Local Self-Government Units-Legal and Financial Aspects. Central and Eastern European Journal of Management and Economics, 6 (3), 51-66.
Keuffer, N. (2018). Does Local Autonomy Facilitate Local Government Reform Initiatives? Evidence from Switzerland. International Journal of Public Sector Management, 31 (4), 426-447.
Kiely, K. P. (2017). U.S. Foreign Policy Discourse and the Israel Lobby. Cham: Palgrave Macmillan.
Ladner, A., Keuffer, N., Baldersheim, H., Hlepas N, Swianiewicz, P., Steyvers, K. & Navarro, C. (2019). Patterns of Local Autonomy in Europe. Cham: Springer.
MacRae, D. Jr. (1993). Guidelines for Policy Discourse: Consensual versus Adversarial. In F. Fischer & J. Forester (eds.), The Argumentative Turn in Policy Analysis and Planning (291–318). Durham, NC: Duke University Press.
Power, S. & Taylor, C. (2021). School Exclusions in Wales: Policy Discourse and Policy Enactment. Emotional and Behavioural Difficulties, 26 (1), 19-30.
Saikia, P., Chima, J. S. & Baro, A. K. (2016). Limits of Ethnofederalism and Local Political Autonomy Arrangements: Continuing Violence in the Bodoland Territorial Area Districts of Assam. India Review, 15 (1), 136-162.
Schunz, S., Botselier, B. D. & Piqueres, S. L. (2021). The European Union’s Arctic Policy Discourse: Green by Omission. Environmental Politics, 30 (4), 579-599.
Tsuji, Y. (2018). Local Autonomy and Japanese Constitution-David and Goliath. Journal of Law and Legislation, 8 (2), 43-68.