ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เทคนิคการอินทิเกรต สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เทคนิคการอินทิเกรต ของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคนิคการอินทิเกรต ของนักศึกษา หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับเกณฑ์ร้อยละ 60 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยทั้งสามชนิดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบและแบบสอบถามเท่ากับ 0.864 และ 0.927 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้(/) และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เทคนิคการอินทิเกรต ของนักศึกษา จำนวน 7 แผน ใช้เวลาสอนทั้งหมด 28 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพ 83.31/73.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคนิคการอินทิเกรต ของนักศึกษา หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อยู่ในระดับพอใจมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คฤหัสถ์ บุญเย็น. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมกับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
จิดาภา ลูกเงาะ, พรรณทิพา ตันตินัย, อาพันธ์ชนิต เจนจิต และ ขณิชถา พรหมเหลือง. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12 (2), 20.
จุฑามาส หอมเชื่อม, นพพร แหยมแสง, วรนุช แหยมแสง และ ศศิวรรณ เมลืองนนท์. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ ที่มีต่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15 (3), 33-34.
ชนานันท์ สิงห์มุ้ย. (2560). ความสามารถในการให้เหตุผลด้านความน่าจะเป็นผ่านกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบบูรณาการตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ธณัชชา จันทกาญจน์ และกรวิกา ก้องกุล. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ลำดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 18 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปิยะพร นิตยารส. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชริดา สิทธิสาร. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 9 (1), 11-12.
ภัทรพร คล้ายสมบูรณ์. (2565). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธี STAR ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภนัส นงค์นวล. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สถิติเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วท.ม. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และคณิตศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2562. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ละออง ลําเทียน. (2549). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้แบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สัจจพันธุ์ วันเพ็ญ. (2565). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. หลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวรรณา อินทร์ฉาย. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.
อัญชลี ด้วงต้อยและอัมรินทร์ อินทร์อยู่. (2557). การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 30 – 31พฤษภาคม 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Matthews, M. R. (1994). Science Teaching the Role of History and Philosophy ofScience. London : Routledge.
Piazza, Jenny Ann. (1995). “An Inquiry into the Mathematics Culture of a Primary Construtivist Classroom : An Ethnographic Description,” Dissertation Abstracts International. 55 (11), 3403-A.