แนวทางการจัดทำธรรมนูญท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ศิริชัย กุมารจันทร์
วิวัฒน์ ฤทธิมา
ณัชชาร์พัชร์ คิส
ศิวพร เสาวคนธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อศึกษาหลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ รวมถึงการเคราะห์รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนพื้นที่ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
          กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการและพนักงานของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดสงขลา ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ ผู้แทนภาคประชาชน องค์กรภาคประชาชน ผู้ประกอบการชุมชนและวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนพื้นที่ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา รวมทั้งสิ้น 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ โดยผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากการทบทวนเอกสาร การสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่มเจาะจง การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม และเปิดเวทีประชาชนในชุมชนเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้แลกเปลี่ยนข้อมูล
          สำหรับผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่าแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะยอมีแหล่งทรัพยากรที่หลากหลาย สภาพปัญหาที่พบในปัจจุบันได้แก่ คนในชุมชนขาดการมีส่วนร่วมในการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ โดยใช้ทฤษฎี ได้แก่ หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักการมีส่วนร่วมหลักธรรมาภิบาล และหลักกฎหมายได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และมีประเด็นในการวิเคราะห์เพื่อออกธรรมนูญชุมชน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน และความคาดหวังในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนและสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัด ปี 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.mots.go.th/news/category/630

ธวัชชัย เคหะบาล และ นิตยา เคหะบาล. (2565). การพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วารสารร้อยแก่นสาร. 7 (3), 275-292.

พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอน 71ก, 29 พฤษภาคม 2562, หน้า 27-70.

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอน 38, 5 เมษายน 2535, หน้า 27-52.

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอน 80, 14 พฤษภาคม 2522, หน้า 1-43.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 1-90.

วราภรณ์ สุขแสนชนานันท์. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการ บริการโฮมสเตย์ในเกาะยอ. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 5 (1), 60- 73

วสุพล วรภัทรทรัพย์. (2564). การขับเคลื่อนธรรมนูญชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สุนิษา กลิ่นขจร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.