รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะครู 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาคุณลักษณะครู 3) การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครู และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะครู โดยการสนทนากลุ่ม และสรุปองค์ประกอบจากความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาคุณลักษณะครู โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน 322 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 3 สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครู โดยศึกษาตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง แล้วยกร่างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครู ประเมินรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ด้วยการสัมมนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และระยะที่ 4 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครู ครูผู้สอน 50 คน คณะกรรมการประเมินการใช้รูปแบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจหลังใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการพัฒนาคุณลักษณะครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 13 ตัวชี้วัด และความเหมาะสมขององค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D = 0.51) 2) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.03, S.D = 0.71) สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D = 0.54) และความต้องการจำเป็นของคุณลักษณะด้านเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีค่า (PNImodified = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับ พบว่า ค่าความต้องการจำเป็น ด้านเศรษฐกิจ (PNImodified = 0.59) ด้านสังคม (PNImodified = 0.38) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (PNImodified = 0.30) และ ด้านวัฒนธรรม (PNImodified = 0.26) ตามลำดับ 3) รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา และการวัดและประเมินผล โดยมีระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D = 0.47) ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.93, S.D. = 0.23) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.84, S.D. = 0.53) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก ( = 4.78, S.D. = 0.44) และ 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ครูผู้สอนมีผลการพัฒนาคุณลักษณะครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยรวมรายด้านก่อนการพัฒนาตามรูปแบบอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.59, S.D = 0.57) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D = 0.47) จึงสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเศรษฐกิจมีการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม และด้านสังคม ตามลำดับ
Article Details
References
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2556). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 6. (2560). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: http://110.78.114.132/sec6/main/index.html
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). วิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.). (2558). หนังสือชุด “เผยแพร่องค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ. วันที่17 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.m society.go.th/article_attach/.7 หน้า
สำนักราชเลขาธิการ. (2558). พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.ohm.go.th
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2557). ตามรอยพระยุคลบาทครูแห่งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์. แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสกสรรค์ เผ่าพันธุ์พิพัฒน์. (2560). การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยกองทัพบก กระทรวงกลาโหม.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.