รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ แรงงานต่างด้าวในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐ ศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐ และพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐ รวมถึงประเมินและรับรองรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง วิธีการได้มา การคำนวณหากลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (TaroYamane) คือ บุคลากรภาครัฐในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวไปปฏิบัติ 316 คน และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง ได่แก่ ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาศักยภาพของบุคลากร พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยศักยภาพของบุคลากร ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ด้านวิทยากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวไปปฏิบัติ สามารถสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก
ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และรับรองรูปแบบการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวไปปฏิบัติ พบว่า ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์จำแนกตามปัจจัยศักยภาพของบุคลากร ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด จำแนกตามปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ด้านระยะเวลามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และจำแนกตามปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
Article Details
References
ณัฐสิทธิ์ ตันติศุภชัยกุล. (2561). กระบวนการพัฒนาบุคลากรภาครัฐในยุคดิจิทัลไทยแลนด์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-7/61141520 92.pdf.
กรมการจัดหางาน. (2567). สถานการณ์แรงงานต่างด้าวประจำเดือน มีนาคม พ.ศ. 2567. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.doe.go.th/prd/ alien/statistic/ param/ site/152/list-label.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Gilmer, B. (1967). Applied Psychology. New York: McGraw-Hill Book Company.
Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2008). Strategic Management and Business Policy. (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
เนตรชนก ดวนใหญ่. (2562). การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในศาลอาญา ยุคดิจิทัล ประจำปี 2562. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ และวงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง. วารสารจันทรเกษมสาร. 25 (1), 141-155.
ธนิกานต์ ศรีจันทร์, อินทุราภรณ์ อินทรประจบ, สมศักดิ์ จั่นผ่อง, ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา และ ชูเกียรติ ผลาผล. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณี อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development. 6 (2), 182-196.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.
ศรีศักดิ์ สุวรรณธรรมมา. (2563). แนวทางการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มาริษา อนันทราวัน และโชติ บดีรัฐ. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 6 (3), 153-162.