การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองของราชอาณาจักรไทย

Main Article Content

อรรถ แสงจิตต์
ปริญญา ศรีเกตุ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาศาล งานวิจัย และมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศกับของประเทศไทยเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายพรรคการเมือง เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
           วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร ตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของไทยและของต่างประเทศ มีการจัดทำสนทนากลุ่ม ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มพรรคการเมือง กลุ่มคณะกรรมการการเลือกตั้ง กลุ่มนักวิชาการกด้านฎหมาย และกลุ่มตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
         จากการศึกษาพบว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองมาตรา 9 กำหนดให้มีผู้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองจำนวน 500 คน ซึ่งมากเกินไปทำให้การจัดตั้งพรรคการเมืองกระทำได้ยาก จึงควรแก้ไขให้ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองเหลือเพียง 15 คน เรื่องการตรวจสอบนโยบายพรรคการเมือง ตามมาตรา 57 กำหนดให้พรรคการเมืองส่งนโยบายของพรรคให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงหน่วยงานเดียว แต่นโยบายพรรคการเมืองในบางเรื่องมีการใช้เงินเป็นจำนวนมาก จึงควรแก้ไขกฎหมายกำหนดให้ส่งนโยบายเช่นว่านั้นให้กระทรวงการคลังตรวจสอบถึงความเป็นไปได้อีกชั้นหนึ่ง การสิ้นสภาพพรรคการเมืองที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 (1) เรื่องการหาสมาชิกพรรคให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 คน และต้องเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มีไม่น้อยกว่า 10,000 คน ภายในสี่ปีนั้นมากเกินไป และ (4) กรณีการไม่เรียกประชุมใหญ่หรือไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองกำหนด 1 ปีนั้น อาจทำได้ยากในพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็ก ดังนั้น จึงควรยกเลิกจำนวนการหาสมาชิกพรรคตาม (1) และขยายระยะเวลาการประชุมและการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองออกไป 2 ปี การยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 92 กำหนดเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองที่มากเกินไป ซึ่งจากการศึกษากฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและกลุ่มกฎหมายซิวิลลอว์ส่วนมากกำหนดเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองไว้เพียง 2 เหตุ ดังนั้นจึงควรแก้ไขเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองของไทยให้เหลือสองเหตุ คือ กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). เครือรัฐออสเตรเลีย. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 8 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc3615e39c306000a871.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2563). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. ครั้งที่ (10). กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา

รัฐชฎา ฤาแรง,ศิริพงษ์ โสภา,ณรงค์ กระจ่างพิศ และเกรียงไกร กาญจนคูหา. (2567). การตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมืองไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2567).

ณรงค์เดช สรุโฆษิต. (2553). หลักกฎหมายเยอรมันเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง (ตอนที่ 1). ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา : http://public-law.net/publaw /view. aspx?id=1482.

สถาบันพระปกเกล้า. (2565). การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ นิพนธ์ พัวพงศกร. (2566). ข้อสังเกตต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 2566. ออนไลน์. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://tdri.or. th/2023/02/political-partiess-policies-overview/.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2555). ระบบพรรคการเมือง. ออนไลน์. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา : https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/drive_politic/download/article/article_20170109090814.pdf”

Avery Leiserson. (1958). Parties and Politics. New York: Knopf.