รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา (2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา (3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา โดยการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
(1) สมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และสมรรถนะด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้
(2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ สมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และสมรรถนะด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนามี 3 ระดับ คือ ระดับองค์กร ระดับกลุ่ม และระดับบุคคล วิธีการพัฒนามี 7 วิธี ได้แก่ การวางแผนการทำงาน พี่เลี้ยง
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ศึกษาดูงาน เครือข่ายการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อบรม/ประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศ
(3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนพลศึกษา พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กาญจนา เชื้อหอม. (2565). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยการโค้ชเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูของนิสิต/ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทีเน้นการโค้ชและการดูแลให้คําปรึกษาแนะนํา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
ธนกฤต อั้งน้อย. (2562). วิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณสุดา สิริรังธศร. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทย ในศตวรรษที่ 21. รายงานการศึกษา ประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้..สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย 6-8 พฤษภาคม 2557. นนทบุรี: สำนักงานสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.
ยุภาลัย มะลิซ้อน และคณะ. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (8), 230-243.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (1 ed.). ม.ป.ท.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุรพงษ์ แสงสีมุข และคณะ.(2557).รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16 (2), 119-128.
สมเกียรติ กาทองทุ่ง. (2556). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์พลศึกษาในสถาบันการพลศึกษาเพื่อขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียน. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ์ ประมาน และคณะ. (2565). สมรรถนะครูพลศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 9 (1), 153-180.
อนุชิต แท้สูงเนิน. (2554). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในช่วง พ.ศ. 2554-2564. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อริสา นพคุณ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อัสรี สะอีดี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2550). มาตรฐานวิชาชีพครูสุขศึกษาและพลศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 35 (4), 57-63.
Conrad, C. F. and Wilson, R.F. (1985). Academic Program Review. Washington, D.C.: Kogan Page.