รูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานแบบโครงงานร่วมกับกระบวนการคิดแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานแบบโครงงานร่วมกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานแบบโครงงาน ร่วมกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้ในการรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ได้กลุ่มเป้าหมาย จํานวน 11 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบการเรียนรู้ ใช้ในการประเมินตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานแบบโครงงานร่วมกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย โมดูลครูผู้สอน โมดูลเนื้อหา โมดูลผู้เรียน โมดูลกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา ขั้นที่ 2 ค้นหาแนวทางการคิดแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 เลือกแนวทางการคิดแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการคิดแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 สรุปและนำเสนอผลงาน และโมดูลการวัดและประเมินผล และ 2) ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้องด้านการใช้ประโยชน์ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กิจจา บานชื่น. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อแก้ปัญหาของนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลับบูรพา.
จอมพงศ์ มงคลวนิช, จิดาภา ถิรศิริกุล และวีรวัฒน์ วรรณศิริ. (2555). การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการศึกษาของเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
นพคุณ คุณาชีวะ. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS) วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 3 (6), 649-668
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น
พนม จองเฉลิมชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชาติ แก้วพวง และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครูสาขาวิชาสังคมศึกษา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11 (4), 342-356.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3001
สุจินต์ วังใหม่, สายฝน แสนใจพรม และสำเนา หมื่นแจ่ม. (2564). การส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ตามการรับรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 10 (2), 149.
วุฒิพงษ์ อินทิแสง และคณะ. (2564). คู่มือการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอาชีวศึกษา. สำนักวิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
อารีย์ เรืองภัทรนนต์. (2566). การพัฒนารูปแบบการคิดเชิงระบบเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 25 (1), 316-324.
Donald, C.(2003). An Epic White Poper. Epic Group pic. Reproduction without witten permission is strictly forbidden.
Isaksen, S. G., Dorval, K. B., & Treffinger, D. J. (2011). Creative Approaches to Problem Solving. A Framwork for Innovation and Change (3rd ed). USA: SAGE Publication.
Rolf, J. Lenschow. (1996). European Journal of Engineering Education. Online. Retrieved December 10, 2010. from : http://www.mmm.ucar.edu/people/lenschow/.
Unesco-Unevoc (2018). Office of Vocational Education Commission. Online. Retrieved February 15, 2018. from : http://www.vec.go.th/th-th.