การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียนประถมศึกษาของนักศึกษาครูโดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับกรอบความคิดแบบเติบโต

Main Article Content

ดาวใจ ดวงมณี
เกรียงศักดิ์ ชยัมภร
สุรยศ ทรัพย์ประกอบ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียนประถมศึกษาของนักศึกษาครูโดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับกรอบความคิดแบบเติบโต และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียนประถมศึกษาของนักศึกษาครูโดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับกรอบความคิดแบบเติบโต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4  ของวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร รวม 63 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่  แบบประเมินความรู้ความเข้าใจและแบบประเมินทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1.1หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 1.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน 1.3 ขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอน มีจำนวน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1. ทำความเข้าใจ ขั้นที่ 2.ขยายปัญหา ขั้นที่ 3. ท้าทายความคิด ขั้นที่ 4. ผลิตนวัตกรรม ขั้นที่ 5. นำสู่การใช้งาน และ 1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน  2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นพบว่า1) หลังการทดลอง นักศึกษาครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการสร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และคะแนนเฉลี่ยทักษะการสร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียนประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุกิตติ์ ชินนะราช. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัด ประเมิน และวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ และ พิทชยา ตั้งพรไพบูลย์. (2566). กรอบความคิดแบบเติบโต: ทักษะที่จำเป็นแห่งโลกยุคพลิกผัน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 51 (1), 1-12.

ปุณภพ ปรมาธิกุล. (2562). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการสะเต็มศึกษา แบบเทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พงศ์วัชร ฟองกันทา, ฟิสิกส์ ฌอน บัวกนก, อัมรา เนตาสิทธิ์, สุวรรณี เครือพึ่ง และพิชชา ถนอมเสียง. (2566). การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนชั้นประถมศึกษา.วารสารจันทรเกษมสาร. 29 (2), 206-221.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สลิลทิพย์ หลาวทอง สุทธิสมบูรณ์ และพิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์. (2565). การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกริอบแนวคิดแบบเติบโตในการเรียนการสอน : การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 28 (1), 13-27.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิน งามประโคน และเกษม แสงนนท์. (2561). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 5 (ฉบับพิเศษเนื่องในงานพิธีประสาทปริญญาบัตร), 74-82.

อัจศรา ประเสริฐสิน เทพสุดา จิวตระกูล และจอย ทองกล่อมศรี. (2560). การศึกษาแนวทางการ จัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 10 (2), 78-89.

Baker, F. W. & Moukhliss, S. (2019). Concretising Design Thinking: A Content Analysis of Systematic and Extended Literature Reviews on Design Thinking and Human-Centred Design. Online. Retrieved June 14, 2022. from : https://www.researchgate.net /publication/337909586_Concretising_Design_Thinking_A_C ontent_Analysis_of_Systematic_and_Extended_Literature_Reviews_on_Design_Thinking_and_Human-Centred_Design

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. Random House.

Dyer, J., Gregersen, H., & Christensen, M. C. (2011). The Innovator’s DNA: Mastering the Five Skill of Disruptive Innovators. Harvard Business School Publishing.

Johansson-Skoldberg, U.,Woodilla, J., & Cetinkaya, M. (2013). Design Thinking: Past, Present and Possible Futures. Online. Retrieved July 24 , 2022. from : https://typeset.io/ papers/design-thinking-past-present-and-possible-futuresbboyvx 5pq0.

Koh, J.H., Chai, C. S., Wong, B., & Hong, H., Y. (2015). Design Thinking for Education. Singapore : Springer.

The Stanford d.school. (2009). An introduction to design thinking process guide: The Bootcamp Bootleg. Hasso Plattner Institute of Design at Stanford University. Online. Retrieved June 14, 2022. from : https://web. stanford.edu/~ mshanks/Mi chaelShan ks/files/509554.pdf