การนิเทศเชิงรุกตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสร้างหลักสูตรของครูที่ส่งเสริมทักษะอาชีพและรายได้ให้แก่เยาวชน ในวัยเรียน กรณีศึกษา : โรงเรียนในตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ประภาพร ชนะจีนะศักดิ์
หนึ่งฤทัย เมฆวทัต
พรทิพย์ อ้นเกษม
จิราภรณ์ พจนาอารีย์วงศ์
สุทธิษา สมนา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการนิเทศเชิงรุกตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสร้างหลักสูตรของครูที่ส่งเสริมทักษะอาชีพและรายได้ให้แก่เยาวชนในวัยเรียน 2) ประเมินสรรถนะการสร้างหลักสูตรของครู 3) เสนอแนวทางการนิเทศเชิงรุกฯ ไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบายและถ่ายทอดสู่สาธารณะ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูที่สมัครใจ (Volunteer Sampling) เข้าร่วมโครงการวิจัย สังกัดโรงเรียนในตำบลดอนฉิมพลี 9 โรงเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) คู่มือการนิเทศเชิงรุกฯ 3) แบบประเมินสมรรถนะการสร้างหลักสูตรฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. แนวทางการนิเทศเชิงรุกฯ มีองค์ประกอบของคู่มือ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของการนิเทศเชิงรุก 2) หลักการ 3) ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4) บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง 5) คำแนะนำ 6) ขั้นตอนการนิเทศเชิงรุก 7) ตารางกิจกรรมการนิเทศเชิงรุก และ 8) เครื่องมือที่ใช้
         2. สรรถนะการสร้างหลักสูตรที่ส่งเสริมทักษะอาชีพและรายได้ให้แก่เยาวชนในวัยเรียน โดยภาพรวมทุกหลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก คือ มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะตามรายการประเมิน เท่ากับ 3.52 (SD.= .10) มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะภาพรวมหลักสูตร เท่ากับ 59.78 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.90
         3. แนวทางการนิเทศเชิงรุกฯ ไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบายและถ่ายทอดสู่สาธารณะ ได้แก่ 1) จัดทำและเผยแพร่คู่มือ ให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน 2) จัดเวที (แบบออนไลน์) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการนำแนวทางการนิเทศเชิงรุก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศึกษา ธิการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา : https://moe 360.blog /2021/ 03/29 /29-3-2564/

ทองพรรณ ปัญญาอุดมกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาการใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านนาอ้อมสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1 (1), 43-52.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และ พรเทพ จันทราอุกฤษฏ์. (2565). สมรรถนะเชิงรุก ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ. (1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (2564). สภาพตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดเชิงเทราในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ. รายงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ. 10 พฤษภาคม 2564. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์.

รัตนชนก รัตนภูม. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 21 (2), 49-50.

วิรัตน์ แก้วสุด และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศ PPDER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นกระบวนการ PLC สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา : https://25620912_073649_1116.pdf (ska2.go.th

Brown, B. D., Horn R. S., and King, G. (2018). The Effective Implementation of Professional Learning Communities. Alabama State University. Alabama Journal of Educational Leadership. (5). Online. Retrieved March 29, 2023. from : https://files.eric.ed.gov/ fulltext/EJ1194725.pdf