การสื่อสารแบรนด์ “กรกต” เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตาม นโยบายด้านเศรษฐกิจชุมชน

Main Article Content

ชฎายุกานต์ ไกรฤกษ์
สุภาภรณ์ ศรีดี
หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสร้างแบรนด์ 1) เครื่องมือการสื่อสารแบรนด์ และข้อเสนอการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารแบรนด์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามนโยบายด้านเศรษฐกิจชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง รวมจํานวน 23 คน เครื่องมือ คือ แนวทางสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป
          ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการสร้างแบรนด์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การกำหนดเป้าหมายของแบรนด์ (2) วางตำแหน่งสินค้าของแบรนด์ ใช้วัสดุจากธรรมชาติท้องถิ่นประยุกต์เข้ากับงานศิลปะเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ (3) สร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่ม ลูกค้าสามารถกำหนดโครงสร้าง ดีไซน์ได้เฉพาะที่ไม่ซ้ำลายและแบบของงานชิ้นอื่น (4) สร้างตัวตนให้เกิดการจดจำให้กับแบรนด์ การใช้ชื่อ“กรกต”เป็นตัวแทนของแบรนด์แสดงถึงความรับผิดชอบงานทั้งหมด (5) สร้างความเชื่อมั่น การสื่อสารอย่างต่อเนื่องรวมถึงบริการหลังการขาย และ (6) การทำความดีของแบรนด์ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และการสร้างอาชีพกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน 2) เครื่องมือการสื่อสารแบรนด์ ใช้เครื่องมือสื่อสาร ได้แก่ (1) การสื่อสารองค์กร แบ่งเป็น การสื่อสารภายใน ใช้การสื่อสารแบบเผชิญหน้าและสื่อสารผ่านไลน์กลุ่ม การสื่อสารภายนอก ใช้การสร้างการรับรู้ตัวตนของแบรนด์ผ่านสื่อมวลชน ผ่านเว็บไซต์ ยังใช้การสื่อสารผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐโดยรับเชิญเป็นวิทยากรให้กับโครงการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวัฒนธรรม  (2) การสื่อสารการตลาด เน้นการส่งเสริมการขายผ่านการจัดกิจกรรมควบคู่กับการตลาดทางตรง ผ่านข้อความหลักสำคัญ คือ รีสอร์ท ทะเล และซัมเมอร์ที่สะท้อนแบรนด์ โดยวางแผนตารางการจัดกิจกรรมเป็นรายปี และ (3) การสื่อสารเชิงโต้ตอบ เน้นการสื่อสารแบบเผชิญหน้าในงานจัดแสดงสินค้าในไทยและต่างประเทศ ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสร้างการเติบโตของแบรนด์ในระยะยาวได้ 3) ข้อเสนอการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารแบรนด์ ประกอบด้วย กระบวนการสร้างแบรนด์ ความ สำคัญในการสร้างคน และเครื่องมือการสื่อสารแบรนด์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา รอดแก้วและคณะ. (2564). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สถาบันพระปกเกล้า

เกศินี สุริยวงศ์ และบุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใน ร้านตัวแทนจำหน่ายแบบดั้งเดิม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (2), 308-320.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุม ชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ :มหาวิทยาลัย ศิลปากร

จุฑารัตน์ พรหมทัต. (2564). เรื่อง สร้างแบรนด์ชุมชน เสริมแกร่งให้เศรษฐกิจฐานราก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา :https://uploads.tpso.go.th/sraangaebrndchumchn_esrimae krngaihesrsthkicchthaa_1.pdf

เจษฎาภัทร์ พันธุ์มีและภานุพงศ์ จงชานสิทโธ. (2562). การสร้างสรรค์แบรนด์และอัตลักษณ์องค์กรของกลุ่มอาชีพเครื่องเขินชุมชนวัดนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์” ครั้งที่ 11. 27 - 28 มีนาคม 2562 . ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์ (2563). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12 (3), 134-146.

วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์ (2559) เรื่อง ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11 (2), 185-192.

ศศิชา หมดมลทิล. (2563). ยกระดับฐานรากด้วยสินค้าชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา : https://www.gsb.or.th/gsbresearch/published-works/7305/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565. แหล่ง ที่มา: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13

อุษณีย์ วัชรไพศาลกุล (2566). แนวทางการสร้างแบรนด์เมืองสมุนไพรเพื่อจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 11 (1), 133-162.

อัจฉรา สุขกลั่นและคณะ (2561). กลยุทธ์การสื่อสารองค์กรเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแข็งแกร่ง. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 16 (1), 76-82.

Bambang Sukma Wijaya. (2013). Dimensions of Brand Image: A Conceptual Review from the Perspective of Brand Communication. European Journal of Business and Management. 5, (31), 55-65.

Philip Kotler. (2016). Branding: From Purpose to Beneficence. Online. Retrieved January 2, 2023, from https://www.marketingjournal.org/brand-purpose-to-beneficence-Philip -kotler/

Kotler Philip and Pföertsch Waldemar. (2006). B2B Brand Management. Online. Retrieved 16 January, 2023, from https://www.researchgate.net/publication/228607801_ B2B_ Brand_Management