การสื่อสารวิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

มณี ศรีสมุทร
วิทยาธร ท่อแก้ว
สุรสิทธิ์ ศรีสมุทร

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวความคิดการสื่อสารวิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง  2) ศึกษาหลักการสื่อสารวิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง  และ 3) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารวิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ผู้บริหารนโยบาย นายกเทศมนตรี ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ หัวหน้าระดับปฏิบัติการ หัวหน้าฝ่ายบริการและเผยแพร่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปเชิงพรรณนาความตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
          ผลการศึกษา 1. แนวความคิดการสื่อสารวิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ประกอบด้วย 1) ภายใต้แนวความคิดเขารูปช้างเมืองน่าอยู่ 2) เปิดโอกาส ให้ประชาชนแสดงความรู้สึกคุณภาพชีวิตที่ดี 3) มีคุณค่าและผลประโยชน์ สื่อสารเพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าและผลประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย การคมนาคมสะดวก  2. หลักการสื่อสารวิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ประกอบด้วย 1) กระชับตรงประเด็น โปร่งใส ไม่ซับซ้อน การสื่อสารที่ชัดเจน  2) การมีส่วนร่วม กำหนดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และนโยบาย และมีเจ้าของร่วมในกระบวนการพัฒนา 3) มีการสื่อสารสองทาง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเพิ่มความไว้วางใจ 4) ใช้สื่อที่หลากหลาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน    5) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารและประชาชน  6) มีการประเมินผลการสื่อสารสม่ำเสมอ 3. กลยุทธ์การสื่อสารวิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง 1) ออกแบบเนื้อหาสาร กำหนดแนวคิดหลัก มีโครงสร้างเนื้อหา ใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย 2) จัดเนื้อหาสารอย่างเป็นระบบ 3) ใช้สื่อที่หลากหลาย ใช้สื่อใหม่ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ท้องถิ่น การใช้สื่อดั้งเดิม วิทยุ เสียงตามสาย สื่อสิ่งพิมพ์ 4) การสร้างเครือข่ายสื่อสารผ่านผู้ใหญ่บ้าน 5) การปรากฏตัวของนายกเทศมนตรีในกิจกรรมชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษมณี วิจิตรกลม. (2562). การวิจัยเชิงคุณภาพ: แนวทางและการประยุกต์ใช้. วารสารการศึกษาการพัฒนา.10 (1), 45-60.

สุกัญญา อินทิชาติ. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในงานวิจัยด้านการศึกษา: แนวทางการประยุกต์ใช้. วารสารการวิจัยการศึกษา. 25 (2), 120-135.

สุภาภรณ์ ชื่นศิริ. (2563). การสื่อสารวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัญชลี มณีวรรณ. (2560). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในงานพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Creswell, J. W. (2013). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Heath, R. L., & Palenchar, M. J. (2009). Strategic issues management: Organizations and public policy challenges. Business Communication Quarterly. 72 (2), 192-197. https://doi.org/10.1177/1080569909336244

Heifetz, R., & Linsky, M. (2002). Leadership on the Line: Staying Alive Through the Dangers of Leading. Harvard Business Review Press.

Kotler, P., & Lee, N. (2008). Social marketing: Influencing behaviors for good. Sage Publications.

Kotter, J. P. (1996). Leading change. Harvard Business Review Press.

Kotter, J. P. (2012). Leading Change. Harvard Business Review Press.

Lasswell, H. D. (1948). The structure and function of communication in society. In L. Bryson (Ed.), The Communication of Ideas (pp. 37-51). New York, NY: Harper & Brothers.

Mishra, K. (2014). Strategic communication: A key to effective community engagement. Community Development. 45 (3), 324-338. https://doi.org/10.1080/15575330.2014. 917019

Zavattaro, S. M. (2013). Public Administration and the Role of Local Government: Toward a Framework for Understanding the Dynamic of Governance. State and Local Government Review. 45 (1), 4-13. https://doi.org/10.1177/0160323X1348496