การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงอาหารปลอดภัย ในโรงพยาบาลจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ภูไทย กมลวารินทร์
วิชาญ ดำรงค์กิจ
ประจวบ แสงดาว
จุฑามาศ บดนอก

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษา ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในโรงพยาบาล จังหวัดปทุมธานี และเพื่อพัฒนารูปแบบโรงอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ (Healthy Canteen) แบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และ   การปฏิบัติ ของผู้ประกอบการร้านอาหาร และปัญหาในการจัดการโรงอาหาร 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม 3) ศึกษาวิธีการพัฒนาโรงอาหารให้ได้มาตรฐาน และ 4) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาโรงอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ (Healthy Canteen) เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หลังการดำเนินงาน ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของผู้ปรุง/เสิร์ฟในโรงอาหาร อยู่ในระดับดี วิธีการพัฒนาโรงอาหารให้ได้มาตรฐาน ประกอบด้วย 1. มีนโยบายการดำเนินงานโรงอาหารปลอดภัย Food Safety Hospital  2. มีคณะกรรมการสุขาภิบาลอาหารดำเนินการในโรงพยาบาล 3. มีการตรวจสุขภาพผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟที่มาค้าขาย 4. มีการคัดเลือกวัตถุดิบที่ปลอดภัยเพื่อนำมาปรุงอาหาร 5. มีระบบสุขาภิบาลที่ปลอดภัย 6. มีความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในงานสุขาภิบาลอาหาร 7. มีเครือข่ายเทศบาล/อบจ. 8. มีเครือข่ายศูนย์วิชาการเช่นศูนย์อนามัยที่4 สสจ.ปทุมธานี โมบายสสจ.สระบุรี มาร่วมในการทำงานสุขาภิบาลอาหารฯ ดังนั้น จึงควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้บริหารทุกระดับของโรงพยาบาลในการดำเนินงาน และนำกระบวนการแบบมีส่วนร่วมมาดำเนินการร่วมเพื่อส่งเสริมให้โรงอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2566). คู่มือแนวทางการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2566 (Food Safety). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://foodsan.anamai.moph.go. th/th/food-

sanitation/212315

กรมอนามัย. (2564). เกณฑ์มาตรฐานโรงอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย (GREEN Canteen). สำนักงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://foodsan. anamai.moph.go.th/th/green-canteen/204474

ธนชีพ พีระธรณิศร์, ดุสิต สุจิรารัตน์ และ ศิราณี ศรีใส. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวการณ์สุขาภิบาลอาหารในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 45 (3), 230-243.

บัญชา พจชมานะวงศ์. (2561). ต้นแบบการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

วิจิตรา ยวดยิ่ง. (2553). การบริหารจัดการพื้นที่อาคารโรงอาหาร (ส่วนรับประทานอาหาร) ให้มีประสิทธิภาพสงสุดกรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วัชรินทร์ ทองสีเหลือง. (2562). การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีรัตน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สันติสิทธิ์ เขียวเขิน. (2542). การจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของร้านอาหารแผงลอยในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). เอกสารสรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2553. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.nso.go.th

อรพิน สุขสองห้อง, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ และ ธีตา ศรีคช. (2560). การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาล อาหารของผู้จำหน่ายอาหารริมบาทวิถี: กรณีศึกษา ถนนสังคโลก. Networking in the Smart City. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 101-110.