โครงการผู้พิทักษ์อนามัยอาสารอบรู้สู้ภัยโควิด 19 เขตสุขภาพที่ 4

Main Article Content

กอบแก้ว ขันตี
วิมล สายสุ่ม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการประเมินและตรวจสอบการปฏิบัติตามาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงเรียนในเขตสุขภาพที่ 4 ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครนายก อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และเพื่อพัฒนารูปแบบมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงเรียน แบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
          1. ศึกษาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกและสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
          2. การพัฒนาเครื่องมือประเมินตนเองระบบเตรียมความพร้อมเปิดเรียนเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา
          3. การนำแบบประเมินในการประเมินตนเองระบบเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนฯ ทดลองใช้ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยให้สถานศึกษาประเมินตนเองออนไลน์ โปรแกรม THAI STOP COVID กรมอนามัย
          4. ประเมินตนเองของสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
          ผลการศึกษา การประเมินมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดภาคเรียนใน 6 มิติ  พบว่า  1. ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค  2. การเรียนรู้ 3. การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส 4.สวัสดิภาพและการคุ้มครอง 5.นโยบาย 6.การบริหารการเงิน ผลการประเมินความพร้อมสำหรับการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา ทั้ง 6 มิติ ภาพรวม  มิติที่ 1. พบว่า 1. โรงเรียนดำเนินงานครบทั้งหมด 44 คิดเป็นร้อยละ44.4  ข้อ 2. โรงเรียนดำเนินงานข้อ 1-20 ทุกข้อ แต่ไม่ผ่าน 21-44 ข้อใดข้อหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.13 โรงเรียนดำเนินงานไม่มี” ข้อ 1-20 ข้อใดข้อหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 39.5 การประเมินมิติที่ 2-6 พบว่าข้อที่ยังไม่มีการดำเนินการตามเกณฑ์ข้อที่ 40 คิดเป็นร้อยละ 24.0 ข้อที่ 28 คิดเป็นร้อยละ 19.0 ข้อที่ 44 ร้อยละ 18.6 และจากการนำปัญหาที่พบจากการประเมินวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบเพื่อให้การเฝ้าระวังการป้องกันโควิด-19 ร่วมกับการประเมินในตนเองโดยการมีส่วนร่วมของผู้พิทักษ์อนามัยทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 4 สื่อสารทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ ประเมินผลลัพธ์ จากการนำรูปแบบการพัฒนาไปใช้พบว่า สถานศึกษาผ่านการประเมินตนเองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและโรงเรียนมีการนำไปเป็นมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคติดเชี้อโควิด19 อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระบบ ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการกำกับติดตาม มีแผนเผชิญเหตุ การสร้างความรอบรู้ให้กับนักเรียนและ  บุคลาการสถานศึกษาการบูรณาการวางแผนการใช้ทรัพยากรและกำลังคนในการดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายเปิดการเรียน ร้อยละ100

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19. ครั้งที่1. นนทบุรี: บริษัท คิว แอดเสอร์ไทซิ่งจำกัด

กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia /file/introduction/introduction170563.pdf

กรมอนามัย. (2563). คู่มือมาตรการและแนวทางในการดูแลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=16713

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php