การพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านคลองบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

จัดการ หาญบาง
ปราริชาติ รื่นพงษ์พันธ์
ภาวิณีย์ มาตแม้น

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) เพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตพื้นที่บ้านคลองบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นและการรับรู้ข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมก่อนและหลังการใช้งาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถสร้างการรับรู้ของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนและนำไปใช้งานได้จริง 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นและการรับรู้ข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมของ ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตพื้นที่บ้านคลองบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราหลังใช้งานมีคะแนนสูงกว่าคะแนนก่อนการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตพื้นที่บ้านคลองบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรามีความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2564). พาณิชย์เผยโควิดดันยอดซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขั้น 0.45 เท่า ข่าวสารกระทรวงพาณิชย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.price. moc.go.th/price/fil eupl oader/file_admin_sum/news_survey-042564.pdf.

จิตราภา คนฉลาด, อิทธิชัย อินลุเพท และวีณา พรหมเทศ. (2567). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลยด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 14 (1), 244-258.

ญาตาวี ทิพย์เที่ยงแท้. (2565). อิทธิพลของเทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่เครื่องสำอางผ่านทัศนคติต่อเทคโนโลยี. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิชาวดี ตานีเห็ง. (2562). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผลิตภัณฑ์จักสานจากเตยหนามสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนพงบูโล๊ะตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยยะลา.

พาสนา เอกอุดมพงษ์, หทัยรัตน์ บุญเนตร และ สิริรักษ์ ขันฒานุรักษ์. (2562). การศึกษาการยอมรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR Code สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าไม้ยางพารา. การประชุมวิชาการระดับชาติ สารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/ 7067.

พิชญุฒม์ เพ็ญมาศ, เพียงพิศ ศรีประเสริฐ และ นัตติกานต์ สมนึก. (2564). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นโดยมหาวิทยาลัยเป็นตลาด. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอซีย. 11 (3), 1-10.

สถิตย์โชค โพธิ์สอาด. (2566). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความจริงเสมือนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ซื้อเสมือนจริง. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อดิศักดิ์ นาคดิลก. (2562). ความเหมาะสม การรับรู้ และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อสื่อต้นแบบจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2566. https://ombstud ies.ombud sman.g o.th/article_attach/4-6%20Adisak%20Full%20text.PDF.

อภิชาติ เหล็กดี, ณัฐพงศ์ พลสยม, วินัย โกหลำ และอุมาภรณ์ เหล็กดี. (2562). รูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชนด้วยเทคโนโลยี AR. รายงานการวิจัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.