ผลการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศบนเว็บไซต์เพื่อการสมัครงานของชุมชนเอื้ออาทร (วัดกู้ 2) และรับสมัครงานของภาคธุรกิจ บริการในเขตจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
เนื่องจากจังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ภาคธุรกิจ บริการประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ประกอบกับประชาชนในชุมชนเอื้ออาทร (วัดกู้ 2) ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับหางาน เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลความต้องการแรงงาน ผู้วิจัยนี้จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ https://jobwatku2.com/ และได้ประยุกต์ใช้กับชุมชนเอื้ออาทร (วัดกู้ 2) และผู้ประกอบการในเขตจังหวัดนนทบุรี ดังนั้นงานวิจัยนี้มีจึงวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศบนเว็บไซต์เพื่อการสมัครงานของชุมชนเอื้ออาทร (วัดกู้ 2) และรับสมัครงานของภาคธุรกิจ บริการในเขตจังหวัดนนทบุรี และ 2) เสนอแนวทางการบริหารจัดการระบบสารสนเทศบนเว็บไซต์เพื่อการสมัครงานของชุมชนเอื้ออาทร (วัดกู้ 2) และรับสมัครงานของภาคธุรกิจ บริการในเขตจังหวัดนนทบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นประชาชนในชุมชนเอื้ออาทร (วัดกู้ 2) จำนวน 80 คน และเจ้าของกิจการในเขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 20 โรงงาน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยวัดค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent Samples t Test ค่า One Way ANOVA และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียรสัน (Pearson product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจโดยรวมของประชาชนและผู้ประกอบการที่ใช้งานระบบสารสนเทศบนเว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ย 3.94 (ระดับ มาก) และค่าเฉลี่ย 3.97 (ระดับ มาก) ตามลำดับ และ 2) ควรเพิ่มความเพียงพอของเมนูในเว็บไซต์ ควรเพิ่มปริมาณเนื้อหาให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายในเว็บไซต์เกี่ยวกับธุรกิจให้มีความเหมาะสม
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2565). สถิติข้อมูล 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1459.
จังหวัดนนทบุรี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดนนทบุรี 5 ปี พ.ศ. 2561 – 2565 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.nonthaburi.go.th/ ita/2565/แผนพัฒนา%2065pdf.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.
พลอยพรรณ สอนสุวิทย์, ฆัมภิชา ตันติสันติสม, สุวิชญา บัวชาติ, อเนก หาลี และ สุรเชษฐ์ ขอนทอง. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศออนไลน์ นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วรินทร ซอกหอม และนครินทร์ ชัยแก้ว. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 8 (1), 117-129.
วิธาสิณีย์ บรรพโคตร. (2556). การพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บไซด์เพื่อการจัดหางานของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เศรษฐภูมิ เถาชารี. (2567). การศึกษาแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการจัดหา จัดจ้างแรงงานตามความต้องการทำงานของชุมชนเอื้ออาทร (วัดกู้ 2) และตามความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการในเขตจังหวัดนนทบุรี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2567. วันที่ 1 สิงหาคม 2567. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Asongu, A.S., Rahman, M., and Alghababsheh, M. (2023). Information technology, business sustainability and female economic participation in sub-Saharan Africa. International Journal of Innovation Studies. 7 (4), 283-293.
Góngora, M.G., and Aponte, D. (2023). Dataset about information technology governance: A survey in Colombian enterprises. Data in Brief. 50 (2023), 109480.
Tiwari, K.A., Marak, R.Z. abd Paul, J., and Deshpande, P.A. (2023). Determinants of electronic invoicing technology adoption: Toward managing business information system transformation. Journal of Innovation & Knowledge. 8 (3), 100366.
Trieu, D.X. H., Nguyen, V.P., Nguyen, T.M. T., Vu, T.M. H., and Tran, T. K. (2023). Information technology capabilities and organizational ambidexterity facilitating organizational resilience and firm performance of SMEs. Asia Pacific Management Review. 28 (4), 544 - 555.