องค์ความรู้อาหารท้องถิ่นในฐานะผู้ถูกเยือนบนฐานรากของชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1

Main Article Content

วิศิษฐ์ศิริ ชูสกุล

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) คัดเลือกอาหารท้องถิ่นในฐานะผู้ถูกเยือนบนฐานรากของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 59 คน ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมกลุ่มย่อยด้วยประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และ 2) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นในฐานะผู้ถูกเยือนบนฐานรากของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 50 คน ด้วยการคัดเลือกแบบลูกโซ่  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปมัย
          ผลการวิจัยพบว่า อาหารท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ที่ได้รับการคัดเลือกสูงสุดใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย เลย (เมี่ยงโค้น ข้าวปุ้นน้ำแจ่ว เอาะหลาม มะพร้าวแก้ว และข้าวแดกงา) หนองบัวลำภู (แกงหวาย ปิ้งตอง ฮางจี่บอง กล้วยบวชชี และข้าวต้มผัด) อุดรธานี (ลาบเป็ด ข้าวผัดจันผา เนื้อหินดาด ข้าวปาดใบเตย และข้าวต้มมัดบัวแดง) หนองคาย (เมี่ยงปลานิล ปลาจุ่ม อั่วปลานิล กล้วยตาก และมะเขือเทศเชื่อม) และบึงกาฬ (ข้าวผัดแสนพัน ปลาแดกไข่ ซุปซาว มะแป๋มแช่อิ่ม และข้าวเม่า) ซึ่งองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 มีขั้นตอนการประกอบอาหารที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต      มีวิธีการนำเสนออาหารด้วยรสชาติอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ มีชื่อตามภาษาถิ่น รูปแบบการบริโภคที่เรียบง่ายและตามประเพณี มีคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนตัวตนของชุมชน ภูมิปัญญาและความเชื่อ และถ่ายทอดเอกลักษณ์ทางอาหารโดยเปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สาโรจน์วงศ์. (2560). ความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กรุงไทย. (2567). Krungthai COMPASS เปิด 6 เทรนด์ท่องเที่ยวยุคใหม่ ดึงดูดนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 1.35 แสนล้านบาท. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2567. แหล่งที่มา: https://krungthai.com/th/krungthai-update/news-detail/2895

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. (2561). เป้าหมายการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.osmnortheast-n1.moi.go.th/new

กัญญารัตน์ แก้วกมล, นิติคุณ ท้าวทอง, สุปวีณ์ รสรื่น, อนุศิษฎ์ เพชรเชนทร์, อมรรัตน์ รัตนสุภา และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2564). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (1), 75-91.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). เมนูอาหารอีสาน ของกินแสนอร่อยนับล้าน ณ ดินแดนอีสานประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://n9.cl/jrba8

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย? 4.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.kriengsak.com/thailand-4.0

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา, อรอนงค์ วูวงศ์ และ เสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล. (2560). อาหารพื้นบ้าน: กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ. มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.

ชุมพล พืชพันธ์ไพศาล. (2560). การถอดองค์ความรู้ วัฒนธรรมชุมชุม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางในการพัฒนากลุ่มชุมชนให้มีความพร้อมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา: วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4 (3), 47-54.

ธารารัตน์ สัญญะโม, เริงวิชญ์ นิลโคตร, ประภัสสร วิเศษประภา, นริศรา กรุดนาด และ สุรเชษฐ์ ชัยประภาทอง. (2565). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาสังคมไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 12 (2), 89-102.

เนมิ อุนากรสวัสดิ์, วิไลศักดิ์ กิ่งคา, และบุญเลิศ วิวรรณ์. (2565). ความสัมพันธ์ของคำเรียกชื่ออาหารกับความเชื่อและค่านิยมของคนไทย 4 ภาค. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 7 (2), 59-68.

ปานจิตต์ ชนะกานนท์. (2563). พาข้าว สำรับอาหารวัฒนธรรมอีสานร่วมสมัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2556). ความสำคัญและกิจกรรมสื่อสารเรียนรู้จากการท่องเที่ยว “อาหาร” สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดผู้หญิงชาวต่างประเทศของไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 8 (1), 61-72.

ยุลดา ทรัพย์สมบูรณ์ และ วริยา ภัทรภิญโญพงศ์. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างสร้างสรรค์ กรณีศึกษา กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 16 (2), 125-140.

สุกัญญา ไหมเครือแก้ว, พราวตา จันทโร, สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์ และ ภมรรัตน์ สุธรรม. (2560). ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9 (4), 274-296.

Autio, E., Pathak, S., and Wennberg, K. (2013). Consequences of cultural practices for entrepreneurial behaviors. Journal of International Business Studies. 44 (4), 334–362.

Choe, J. Y., & Kim, S. (2018). Effects of tourists' local food consumption value on attitude, food destination image, and behavioral intention. International Journal of Hospitality Management. 71, 1-10.

Rachão, S., Breda, Z., Fernandes, C., and Joukes, V. (2019). Food tourism and regional development: A systematic literature review. European journal of tourism research. 21, 33-49.

Robinson, R.N.S. and Clifford, C. (2012). Authenticity and festival food service experiences. Annals of tourism research. 39 (2), 571–600.