การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ

Main Article Content

สรารัตน์ สอนสุกอง
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์ เป็นฐานที่สามารถส่งเสริมปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา และศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา เมื่อจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง วิวัฒนาการ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ในโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน จำนวน 3 แผน ระยะเวลา 12 ชั่วโมง แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรม และแบบประเมินปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เลือกปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ 2) ดำเนินการศึกษาค้นคว้า 3) สังเคราะห์ความรู้และลงข้อสรุป 4) ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนผ่านการนำเสนอชิ้นงาน ผลการวิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเลือกใช้ปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้เรียน ปรากฏการณ์ที่ผู้เรียนอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียน สามารถพัฒนาปัญญาด้านธรรมชาติวิทยาของผู้เรียนให้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะด้านความสนใจ และด้านจิตสำนึก/ความตระหนักรู้ และพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน นักเรียนมีค่าเฉลี่ยผลการประเมินด้านความสนใจ ด้านทักษะ/ความสามารถ และด้านจิตสำนึก/ความตระหนักรู้ อยู่ในระดับ มาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71, 3.75 และ 4.00 ตามลำดับ ในขณะที่ด้านความรู้/ความเข้าใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

สู่พหุปัญญา. ออนไลน์. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.onec.go.th/th.php/

book/BookView/367

ญาณากร สุทัสนมาลี และสุเนตร สืบค้า. (2552). การสอนโดยการกระตุ้นให้นักศึกษาตั้งคำถาม Teaching by Motivating Students to Questioning (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ทฤษฎีพหุปัญญา. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก https://www.happy

homeclinic.com/a01- multipleintelligence.html (บทความต้นฉบับ: เมษายน 2549)

นพดล โชติกพานิชย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาตามรูปแบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ใช้พหุปัญญา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นวพล นนทภา และรามนรี นนทภา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทาง คณิตศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10), กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น

พณิดา เตชะผล. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ

ปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเรียนรู้ในศตวรรษที่

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2) (เมษายน - มิถุนายน 2562)

วัฒนพงศ์ เขียวเหลือง และคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ

สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education Naresuan University, 23(2) 257-267

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2564). พหุปัญญาในชั้นเรียน: Multiple Intelligence in Classroom. กรุงเทพฯ. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ : ทิศทางสำหรับครูสตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์.

จุลดิสการพิมพ์.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานกับกิจกรรม

พหุปัญญา Creative-Based Learning Management and Multiple Intelligence Activities. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11) ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564.

สุชานันท์ วรวัฒนานนท์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

อย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2557). เทคนิคกระบวนการ Active Learning: จากการประเมินสู่พัฒนาการเรียนรู้.

บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด

สมบูรณ์ จารุณะ. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอภิปรายกลุ่ม เรื่อง พระพุทธศาสนาน่ารู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อ

โสตทัศน์. มหาวิทยาลัยศิลปากร

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อการสร้างมุมมองแบบ องค์รวมและ

การเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 46(2)

(เมษายน-มิถุนายน 2561).

Fred Allendorf and Jeffrey J Hard. (2009). Human-Induced Evolution Caused by Unnatural Selection through Harvest of Wild Animals. Proceedings of the National Academy of

Sciences. https://www.researchgate.net/publication/ 209717447_Human Induced_

Evolution_Caused_by_Unnatural_Selection_through Harvest_of_ Wild Animals

Symeonidis, V. and Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-based teaching and learning through the pedagogical lenses of phenomenology: The recent curriculum reform in Finland. Forum Oświatowe,28(2),31–47. http://forumoswiatowe.pl/index.php/czasopismo

/article/view/458