การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์จากชุมชนในตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ และความต้องการช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้บริโภคสนใจในผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) เพื่อพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์จากชุมชนในตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์จากชุมชนในตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคของผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือผู้บริโภคที่สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 400 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงกับผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือคาดว่าจะมีการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน และผู้ประกอบการที่เลี้ยงปลากัดสวยงาม ปลูกมะพร้าวน้ำหอม และปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ในตำบลบางเล่า คัดเลือกจากการดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เอกสารเนื้อหาการอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการ Enter
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การตลาดออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ส่งผลในทิศทางบวก ตัวแปรด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ส่งผลในทิศทางลบ สามารถเขียนสมการถดถอย ดังนี้ = .618 + .251x1*+ .106x2*+ .307x3*+ .071x4*+ .132x5*- .015x6
2) ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปรับปรุงเฟซบุ๊กตนเอง และสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ ผ่านกระบวนกการฝึกอบรมที่ได้รับการประเมินผลความเหมาะสมของเนื้อหาการฝึกอบรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.67 S.D.=.577) และ 3) ความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อการพัฒนาช่องทางจำหน่ายออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.37 S.D.=.566) และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.26 S.D.=.586)
Article Details
References
กระทรวงพาณิชย์. (2566). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://uploads.tpso.go.th/การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน.pdf.
จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2566). เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2566 – 2585). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.chachoengsao.go.th/cco/images/plan/
pdf /2566/20%20y%20CCS-Plan.pdf.
ณัฐกุล วงศ์กา. (2566). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ณิชาภา เทพณรงค์ และประภัสสร วิเศษประภา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อ
การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เบญริสา ตันเจริญ. (2567). การพัฒนาช่องทางการตลาดดิจิทัลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรสวนเก้าแสน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 15 (1), 30-47.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจยัทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิสซัพพลาย.
เพ็ญแข ศิริวรรณ และคณะ. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.
รุ่งลักษณา ดีแจ่ม และเจน จันทรสุภาเสน. (2564). การพัฒนาดิจิทัลมาร์เกตติ้งผลิตภัณฑ์เมล็ดบัว วิสาหกิจชุมชน จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมวิจัย. 26 (1), 166-178.
ลลิตา พ่วงมหา และพัชนี เชยจรรยา. (2562). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคชาวไทยต่อธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพ. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 13 (1), 84-93.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา : https://www.nesdc.go.th/down load/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า. (2566). ข้อมูลรายละเอียดชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566. แหล่งที่มา: https://banglaow.go.th/public/texteditor/data/index/menu/501.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า. (2567). ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://banglaow.go.th/public/list/data/index/menu/245.
อัปสร อีซอ, ปวีณา เจะอารง, ศุภมาศ รัตนพิพัฒน์ และรอมซี แตมาส. (2563). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดชายแดนใต้ ตามโครงการพระบรมราโชบาย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.
Coghlan, D., & Brannick, T. (2001). Doing action research in your own organization. Sage Publications.