แนวทางการตลาดธุรกิจนำเข้า-ส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตร ระหว่างประเทศเวียดนาม ลาว และไทย กรณีศึกษาบริษัทนำเข้าส่งออก “TTHH MTV QUANG THUY”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การนำเข้า-ส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรระหว่างประเทศเวียดนาม ลาว และไทย เป็นส่วนสำคัญของช่องทางการตลาดในภาคการเกษตรที่ส่งเสริมความเป็นเอกภาพ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมทางการจัดการของธุรกิจนำเข้าส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรระหว่างประเทศเวียดนาม ลาว และไทย 2) ศึกษาองค์ประกอบการตลาดธุรกิจนำเข้าส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตร 3) วิเคราะห์และนิยามองค์ประกอบการตลาดธุรกิจนำเข้าส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตร 4) ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธุรกิจการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตร และ 5) กำหนดแนวทางการตลาดแนวทางการตลาดธุรกิจนำเข้าส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรระหว่างประเทศเวียดนาม ลาว และไทย บริษัทนำเข้าส่งออก “TTHH MTV QUANG THUY”
ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ ในเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ การระดมสมองระหว่างทีมบริหารของธุรกิจ และในเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จากกลุ่มเป้าหมาย 400 คน ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งของบริษัทคือการใช้ระบบ ERP ในการติดตามและควบคุมการดำเนินงาน การคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพสูง และการจัดการเอกสารการขนส่งเพื่อลดปัญหาการจัดเก็บภาษีและการส่งมอบ กำหนดองค์ประกอบทางการตลาดได้ 33 องค์ประกอบ และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสามารถลดองค์ประกอบเหลือ 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) การบริการอันทรงคุณค่า 2) การบริการด้านโลจิสติกส์ 3) การบริการที่ตรงเวลาและโปร่งใส 4) การบริการด้วยประสบการณ์ และ 5) การบริการเสริมที่สำคัญ ซึ่งสามารถอธิบายการตลาดธุรกิจนำเข้าส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรได้ร้อยละ 69.403 จึงนำองค์ประกอบที่ได้มาระดมสมองกำหนดเป็นแนวทางการตลาด “VLT Ex-Im” ที่ตรงตามศักยภาพของบริษัทและสนองตอบพฤติกรรมของลูกค้าเป้าหมาย
Article Details
References
กมล สถาพร และ เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2558). กลยุทธ์การตลาดบริการธนาคารพาณิชย์ไทยในการเตรียม ความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 19 (1), 66-90.
กมลกานต์ คุ้มญาติ และวันชัย รัตนวงษ์. (2549). การศึกษากลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าประเภทธุรกิจ การขนส่งสินค้าโดยเรือ กรณีศึกษา: บริษัท เอเอ็น เอส ไลน์ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง สาขาการจัดการโลจิสติกส์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย, UTCC Graduate research conference.
กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 6 (3), 175-183.
กรมการขนส่งทางบก. (2555). ข้อกําหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: https://legal.dlt.go.th/1stblood/file/430_36.pdf
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2567). ลาวมีรายได้ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกสินค้าเกษตรในปี 2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.ditp. go.th/post/162046
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2563). จำนวนสถานประกอบกิจการประเภทการขนส่งสถานที่เก็บและและการคมนาคมของจังหวัดระยอง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: สินค้าhttps://eservice.labour.go.th/dlpwMapWeb/map/
กรรณิการ์ มานะกิจ และอารีย์ กัลปนา. (2539). การส่งเสริมธุรกิจระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กฤษดา เชียวัฒนสุข และ สมพล ทุ่งหว้า. (2562). การใช้ตัวแทนออกของของผู้นำเข้าส่งออกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 5 (20), 8-17.
กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2562). จำนวนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง. สืบค้นออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: https://web.dlt.go.th/statistics/
กษิดิ์ เดช เอื้อเสถียร. (2553). การจัดการการขนส่งทางอากาศ. กรุงเทพมหานคร, O.S.Printing House.
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, (ม.ป.ป.). การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทย vs เวียดนาม อุตสาหกรรมใดที่ไทยต้องเร่งปรับตัว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www. oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/articlesanalysis/export_thailand_vs_Vietnam.pdf
กันต์ธมน สุขกระจ่าง และ ธราธร กูลภัทรนิรันดร์. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจในการเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งของกลุ่มผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ า โดยวิธี AHP”. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.กรุงเทพฯ.
กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2553). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนิตา ถนอมศักดิ์ยุทธ. (2559). กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของบริษัทนำเข้า ส่งออก บริษัท ไอเคเคไอ ชิปปิ้ง แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร. พัฒนาศึกษา.
สำนักการเกษตรต่างประเทศ. (2561). รายงานการประชุม 10 ประเทศอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ครั้งที่ 39.
อาทิตย์ แฮมเมอรี่. (2552). การใช้กิจกรรมตามแนวคิดโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ความคงทนในการจำ และทัศนคติเชิงบวกของผู้เรียน . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Burns, R. (1990). Introduction to Research Methods. Melbourne: Longman ChesireLogistics Update, (2567). 6 สิ่งสำคัญนำธุรกิจนำเข้าส่งออกสู่ความสำเร็จ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.scgjwd.com/blogs/update/6-keys-success-import-export-business
Porter, M. E. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. Free Press.Wiersma, W. (1991). Research methods in education: An introduction. 5th ed. Boston: Allyn & Bacon.