แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่การเป็นเมืองเป้าหมาย ทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) เปรียบเทียบปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญ 2) ความคิดเห็นของชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 3) กำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่การเป็นเมืองเป้าหมายทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมจากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติทดสอบ t –test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มให้ข้อมูล คือ ประชาชนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการการวิเคราะห์เนื้อหา การจัดระเบียบข้อมูล และสรุปผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.80, S.D.= 0.82) และพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ บุคลากร ราคา กระบวนการ การนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ การทดสอบค่า t-test พบว่า เพศที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่า อายุ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน 2) ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวผ่านกระบวนการรวมกลุ่มเพื่อวางแผน ดำเนินงาน การจัดการผลประโยชน์ที่ได้รับ และการประเมินผลจากการทำงานทุกครั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนควรมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยการช่วยอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษา ผ่านกระบวนการให้ความรู้ ความร่วมมือกับชุมชนในการสร้างจิตสำนึก ความหวงแหน ผ่านการสืบทอดภูมิปัญญาให้คนรุ่นหลัง 3) ควรนำปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมาพัฒนาผ่านการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว รวมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านความองค์ความรู้ งบประมาณจากภาครัฐและเอกชนในพื้นที่
Article Details
References
กมลทิพย์ ชิวชาวนา. (2560). การศึกษาถึงอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ (Service Marketing Mix 7P’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัววาสนาซีฟู้ดของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3324/1/ kamontip_chiw.pdf
กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะยอ
จังหวัดสงขลา. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัฒฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/ 2017/TU_2017_5903010014_8197_8295.pdf.
กัญญาพัชร วุฒิยา. (2559). แนวทางการพัฒนาการตลาดในแหล่งท่องเที่ยวตลาดเก่าโบราณหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
เฉลิม บุญพิทักษ์. (2556). กลยุทธ์การท่องเที่ยวอย่างยิ่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
สมชาย ชมภูน้อย. (2560). แนวทางการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี.วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา : http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ ndc_ 25602561/PDF/8541e/ รวม.pdf
ทิวาวรรณ ศิริเจริญ กันหา. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านห้วยหญ้าเครือ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10 (3), 100-111.
ณัฐณิชา ลิมปนวัสส์. (2561). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารประเภทร้านริมบาทวิถี (Street food) ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนพล จันทร์เรืองฤทธิ์. (2562). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: http://dspace. bu.ac.th /bitstream/123456789/3887/3/thanaphol_chanr.pdf
นิตยา งามยิ่งยงและละเอียด ศิลาน้อย. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชุมชนบริเวณริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11 (1), 149-166.
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). อพท.ปั้น 5 เส้นทาง “ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา”สู่ความยั่งยืน. ออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/greeninnovation
/detail/9650000067638
มารยาท โยทองยศ และ ปราณีสวัสดิสรรพ์. (2557). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. วารสารศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.
เรืองพร หนูเจริญ. (2562). กลยุทธ์ในการขายประกันชีวิตให้ประสบความสำเร็จ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. ออนไลน์. สืบค้าเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา : http:// ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2865/1/61602320.pdf
ศราวุธ ผิวแดง. (2558). เอกสารประกอบการสอนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ศาลากลางจังหวัดสงขลา. (2566). ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว ประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยว วิถีชีวิตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครั้งที่ 2/2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2567. แหล่งที่มา: : https://www.songkhla.go.th/news/detail/8213
สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ. (2565). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566.แหล่งที่มา : https://www.adt.or.th/page/sustainable-tourism/en
สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
หทัยรัตน์ สวัสดี. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Sustainable Tourism Development. 2 (1), 64-73.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2564). บทความลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา : https://www.dasta.or.th/th/article/374
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2565). ท.ท.ช. ไฟเขียวประกาศ “ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.dasta.or.th/th/article/1242