ศักยภาพการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่การเป็นเมืองเป้าหมายทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ศินีนาฎ พูลเกื้อ
ประภาพรรณ แก้วสิยา
ธารินทร์ มานีมาน
พรเพ็ญ ประกอบกิจ

บทคัดย่อ

            การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่การเป็นเมืองเป้าหมายทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนต่อศักยภาพการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) โดยลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยว (Field Survey) และศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีภูมิลำเนาหรืออาศัยในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดโควต้า (Quota Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structure) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
           จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย แต่ละอำเภอมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ทั้งทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ และทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม ส่งผลให้พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีศักยภาพทางการท่องเที่ยวภายใต้ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความพร้อมในการเป็นเมืองเป้าหมายทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ โดยระดับความคิดเห็นต่อศักยภาพการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาทั้งด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านความมีชื่อเสียงในปัจจุบัน ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ด้านสภาพแวดล้อม ด้านข้อจำกัดในการรองรับการท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกานต์ แก้วนุช. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวภายใต้พลวัตโลก.กรุงเทพมหานคร: ฟรีสมายด์ พับลิชชิ่ง

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวปี 2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2566). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. 15 (2), 65-79

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2560). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พบลิชชิ่ง.

ประมาณ เทพสงเคราะห์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฝั่งตะวันตก. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูลและพัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดนและบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. วารสารสุทธิปริทัศน์. 27 (83). 97-111.

ลัดดา พูนสวัสดิ์มงคลและทิสวรรณ ชูปัญญา. (2566). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง. วารสารตำหนัก. 1 (1), 72-89.

ศราวุธ ผิวแดงและคณะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง. งานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศิริจรรยา ประพฤติกิจ. (2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดตราดเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการกาท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2565). ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. นิตยสาร อพท. Travel เที่ยวไทยให้ยั่งยืน. 1 (30), 3-5.