การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นแบบผสมผสาน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ่อแก้ววิทยา จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมครูพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นแบบผสมผสาน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ่อแก้ววิทยา จังหวัดกำแพงเพชร 2) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูฯ และ 3) ประเมินหลักสูตรฝึกอบรมครูฯ ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูโรงเรียนบ่อแก้ววิทยา จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรมครู 2) แผนการฝึกอบรม 3) แบบทดสอบวัดความรู้ 4) แบบประเมินความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และ 5) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา
           ผลงานวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมครู มีเนื้อหาสาระ 4 หน่วย ได้แก่ 1) มโนทัศน์เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ 2) การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมตามแนวหลักสูตรฐานสมรรถนะ 3) การออกแบบการเรียนรู้พัฒนาสมรรถนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และ 4) การประเมินสมรรถนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยกิจกรรมฝึกอบรมเป็นแบบผสมผสานทั้งแบบออนไลน์ และแบบเผชิญหน้าสัดส่วน 70 : 30 ผลการประเมินคุณภาพของหลักสูตร พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ครูมีความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหลังฝึกอบรมจากสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33) 3) ผู้บริหารและครูมองเห็นประโยชน์ของการพัฒนาทั้งสมรรถนะผู้เรียน และการพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมตามแนวหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ครูร่วมกันสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชน ให้นักเรียนเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของดีในชุมชนด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ รวมถึงต้องการให้นักเรียนมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญา และสามารถต่อยอดสู่อาชีพสร้างรายได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ และคณะ. (2565). การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวที่เหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 7 (15), 167-183.

จันทร์ โกศล และคณะ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15 (4), 33-44.

เฉลิม จักรชุม. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 11 (2), 129-143.

ณัฐหทัย สร้างสุข. (2559). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดโซสิโอคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะการพัฒนาตนเองของครู. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.thai-explore.net/search_detail/result/5215

ทิศนา แขมมณี. (2562). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับบทบาทศึกษานิเทศก์แนวใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.watponcmpeo.files.wordpress.com.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บังอร เสรีรัตน์ และคณะ. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์ คู่มือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.edusandbox.com/13-3-24-cbe/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรัญจิต วรรณนวล. (2567). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานเสริมสร้างสมรรถนะการทําวิจัยในชั้นเรียนสําหรับครูผู้สอนของศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัดลําปาง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 8 (8), 248-261.

สุวุฒิ ตุ้มทอง และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2555). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม แบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้เพื่อ พัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานทักษะวิชาชีพระดับสากล. วิทยบริการ. 23 (3), 108-120.

สําลี ทองธิว. (2545). หลักและแนวปฏิบัติในการพฒนาหลักสูตรสถานศึกษา: กรณีวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี วิมลศิลป์ และนพพร ไวคกุล. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริม การจัดการเรียนการสอนออนไลน์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเทคโนโลยีการศึกษา. 6 (2), 28-41.

Black, P., & Wiliam, D. (2009). Developing the theory of formative assessment. Educational Assessment, Evaluation and Accountability. 21 (1), 531.

Darkis, J. M. (2020). Views and challenges in teaching mathematics of elementary teachers in rural and urban school districts. Journal of Critical Reviews. 7 (4), 107-112.

Deborah, J. H. (1991). How To Integrate Language and Content Instruction: A Training Manual (2nd ed.). Retrieved from https://www.files.eric.ed.gov/fulltext/ED359780.pdf

Ford, R., & Meyer, R. (2015). Competency-based Education 101. Procedia Manufacturing. 3, 1473-1480.

Fullan, Michael G. (1991). The New Meaning of Educational Change. New York: Teachers College Press.

Kagan, D. M. (1992). Professional Growth Among Preservice and Beginning Teachers. Review of Educational Research. 62 (2), 129-169.

Stanford d. school. (2016). Design Thinker. Online. Retrieved May 10, 2020, from https://www. thedesignthinker.com.au/ influencers/stanford-d-school

Taba, H. (1962). Curriculum development Theory and practice. New York Harcourt, Brace & World.

Yustina, Syafii, W.S., & Vebrianto, R. (2020). The Effects of Blended Learning and Project-Based Learning on Pre-Service Biology Teachers’ Creative Thinking Skills through Online Learning in the Covid-19 Pandemic. Journal Pendidikan IPA Indonesia. Retrieved May 10, 2020, from http://www.journal.unnes.ac.id/index.php/jpii DOI:10. 15294/jpii.v9i3.24706

Joyce, B. (1990). Changing School Culture through Staff Development: 1990 Yearbook of the Association for Supervision and Curriculum Development. Publication Sales, Association for Supervision and Curriculum Development, 1250 N. Pitt Street, Alexandria, VA 11214 (Stock No. 610-90009; $19.95)..