สภาพการณ์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้ให้บริการในสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพ ปัญหาเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ให้บริการ 2) ช่องว่างระหว่างสมรรถนะที่เกิดขึ้นจริงกับสมรรถนะที่คาดหวังของผู้ให้บริการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ให้บริการในสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 169 แห่ง ด้วยวิธีการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ PNI modified และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้บริการในสถานประกอบการต้องจบหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปัญหาในการปฏิบัติงานพบทั้งการขาดความรู้ ทักษะ ผู้ให้บริการมีความเครียดในการปฏิบัติงาน และจำนวนผู้ให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ
2) ช่องว่างระหว่างสมรรถนะที่เกิดขึ้นจริงกับสมรรถนะที่คาดหวังของผู้ให้บริการในสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงและลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ระดับสมรรถนะที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากสมรรถนะที่คาดหวัง โดยระดับสมรรถนะที่คาดหวังสูงกว่าระดับสมรรถนะที่เกิดขึ้นจริง ทั้งโดยรวม สมรรถนะหลัก และสมรรถนะในงานที่ปฏิบัติ โดยลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนามีดังนี้ ลำดับ 1 การควบคุมอารมณ์และจัดการความเครียด ลำดับ 2 การรับผิดชอบเชิงจริยธรรม ลำดับ 3 การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 3) แนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ให้บริการในสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง มี 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การจัดหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน 2. การพัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการโดยการเสริมสร้างการมีความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม การควบคุมอารมณ์และจัดการความเครียด และ 3. การพัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการโดยการเสริมสร้างการมีความรู้ความเข้าใจและการดูแลผู้สูงอายุ
Article Details
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2564). สธ.ประกาศใช้กฎหมายคุมกิจการดูแลผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/8602
กัญนิกา อยู่สำราญ, ศรีสกุล ชนะพันธ์ และ พานิช แก่นกาญจน์. (2565). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16 (1), 1-16.
จีราวรรณ นามพันธ์, นฤมล เอื้อมณีกูล และ สุรินธร กลัมพากร (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28 (3), 42-52.
จันทราวรรณ แก้วดุก, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และ สมเกียรติยศ วรเดช. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 10 (3), 1-14.
ดวงเดือน ศาสตรภัทร และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 18 (2), 1-13.
นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์ (2566). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุกรณีศึกษา: ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์. 17 (52), 193-210.
นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์. (2565). Home Care โอกาสธุรกิจที่น่าจับตามอง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2565, แหล่งที่มา: https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/home-care-business.html.
นงลักษณ์ พะไกยะ, ศิริพันธ์ สาสัตย์ และ วาสินี วิเศษฤทธิ์. (2564). ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอนาคต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 15 (2), 200-217.
ปองกมล สุรัตน์. (2562). ผู้สูงอายุที่ป่วยระยะท้ายในบ้านพักคนชรา : ช่องว่างและปัญหาที่ตกหล่นไปจากสังคม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2565, แหล่งที่มา: https://peacefuldeath.co/pc-in-nursing-home/.
พีสสลัลฌ์ ธํารงศ์วรกุล และ วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี (2562). การสร้างเสริมทัศนคติการทํางานของเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ประจําสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารจันทรเกษมสาร. 25 (2), 111-124.
ศุภณัฐ พานา, กฤติยา คันธโชติ, ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์ และ ภูมิ มูลศิลป์ (2564). มาตรฐานผู้สูงอายุในเขตเมือง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS. 10, 216-227.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักข่าวอิสรา. (2565). สาธารณสุขประกาศกฎกระทรวง คุมมาตรฐานธุรกิจดูแลผู้สูงวัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2565, แหล่งที่มา: https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/106319-isranews-elder.html
Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.
Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
Luk, J. K. (2017). End-of-life services for older people in residential care homes in Hong Kong. Hong Kong Medical Journal. 24 (1), 63-67.
Spencer, M and Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for Superiors Performance. New York: John Wiley & Sons.
Teggi D. (2018). Unexpected death in ill old age: An analysis of disadvantaged dying in the
English old population. Social Science & Medicine. 217, 112–120.