การถอดบทเรียนการประยุกต์ใช้แนวคิด Balanced Scorecard ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษา: วาสนาปาร์ค รีสอร์ท คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อระยา เทวารุทธ
ศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนจากการประยุกต์ใช้แนวคิด Balanced Scorecard      (การประเมินแบบสมดุล) ในการนํากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดและหลักการของ Kemmis and McTaggart ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนปฏิบัติ 2) การลงมือปฏิบัติ 3) การสังเกต และ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติการ โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 วงจร ใช้เวลาในการดำเนินการศึกษา 2 เดือน โดยสรุปผลการถอดบทเรียนจากการศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของพนักงานวาสนาปาร์ค รีสอร์ท คำชะโนด จำนวน 22 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลได้แก่ 1) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมขณะประชุม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นพนักงานหลังจากมีการประชุม 3) แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเพื่อติดตามการปฏิบัติงานในระยะเวลา 1 เดือน 4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นหลังจากมีการดำเนินการในระยะเวลา 1 เดือน โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า
           ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรทำให้พนักงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางและบทบาทของตนเองรวมถึงผู้อื่นในองค์กรการมีส่วนร่วมของพนักงานในกระบวนการกำหนดแบบวัดผลส่วนบุคคลยังช่วยเสริมสร้างความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งผลที่ตามมาคือพนักงานสามารถปรับปรุงการทำงานและบริหารจัดการเวลาของตนเองได้ดีขึ้น นอกจากนี้ การทำงานในองค์กรยังดำเนินไปอย่างราบรื่นอีกทั้งบรรยากาศการทำงานก็ดีขึ้นอย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรวัฒน์ หินแก้ว และ ชิตพล วิไลวาม. (2567). กลยุทธ์การตลาดธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานีเพื่อสร้าง ความได้เปรียบทางการแข่งขัน. Journal of Spatial Development and Policy. 2 (3), 27-38.

นุชนาถ ทับครุฑ. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังโดยใช้แนวคิดในการบริหารจัดการ Balanced Scorecard Factors of Success in Trang Community Enterprise by the Use of Balanced Scorecard. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12 (1), 1-10.

พสุ เดชะรินทร์. (2546). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสุ เดชะรินทร์, ยุทธนา แซ่เตียว, ยินดี ดิสสรา นารถ จันทวงศ์ และ ญาดา ตรองตรง. (2548). Individual Scorecard การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ก.พลพิมพ์.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2554). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567. แหล่งที่มา: https://shorturl.at/9kQo4

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษร์ธานี. 2 (1). 29-49.

วาสนาปาร์ค รีสอร์ท คำชะโนด. (2567). ข้อมูลธุรกิจ. อุดรธานี: วาสนาปาร์ค รีสอร์ท คำชะโนด.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคลังจังหวัดอุดรธานี. (2566). รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี ปี 2566 และ แนวโน้มปี 2567. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2567. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/ 81mCZ

อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2556). การประเมินแบบสมดุล (Balanced Scorecard). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567. แหล่งที่มา. https://shorturl.at/tJFpC

อมรศิริ ดิสสร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ Balanced Scorecard ของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 12 (1), 7-16

Almohtaseb, A. A., Almahameed, M. A. (2017). The Impact of Performance Management International Review of Management and Business Research. 6 (2), 681-691.

Armstrong, M. (2020). Armstrong's Handbook of Human Resource Management Practice. Kogan Page Publishers.

Cignitas, C. P., (2022). The Effect of Balanced Scorecard on Employee Wellbeing. Canadian Center of Science and Education. 17 (3), 103-120.

Niven, P. R. (2006). Balanced Scorecard Step-by-Step: Maximizing Performance and Maintaining Results. Wiley.

Robert S. Kaplan, David P. Norton. (1996). The balanced Scorecard: translating strategy into action. United States of America.