มาตรการทางกฎหมายในการพักโทษนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต

Main Article Content

ณัฐวุฒิ วัฒนผลิน
ศิริพงษ์ โสภา

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยฉบับนี้คือ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการพักโทษนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษตลอดชีวิตทั้งของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           งานวิจัยนี้เป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งจะทำการศึกษาวิจัยด้วยข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์จากทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ มีการจัดทำสนทนากลุ่ม ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 สายอาชีพ คือ พนักงานอัยการ กลุ่มหน่วยงานตำรวจ หน่วยงานราชทัณฑ์ เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
          จากการศึกษามาตรการพักโทษนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษตลอดชีวิตมีประเด็นปัญหาสามประเด็น คือ นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตได้รับการเปลี่ยนโทษมาเป็นโทษมีกำหนดเวลา 50 ปีตามกฎหมายแล้ว ก็ยังจะได้รับประโยชน์ในการลดโทษเพิ่มอีก ซึ่งหลังได้รับการเปลี่ยนมาเป็นโทษมีกำหนดเวลาแล้ว เมื่อรับโทษแล้ว 10 ปีจะเข้าเงื่อนไขได้พิจารณาพักโทษ ซึ่งถือเป็นระยะเวลารับโทษแค่เพียง 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์การรับโทษที่น้อยกว่านักโทษทั่วไปที่ต้องรับโทษถึง 1 ใน 3 ของเวลาโทษ และกรรมการพิจารณาพักโทษมีการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารเท่านั้น ก่อให้เกิดความไม่โปร่งใสในและมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองได้ ดังนั้นจึงเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดกฎหมายเพื่อไม่ให้ลดวันต้องโทษเพิ่มสำหรับนักโทษซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตและได้รับการเปลี่ยนเป็นโทษมีกำหนดเวลา เพิ่มระยะเวลารับโทษก่อนเข้าเงื่อนไขการพิจารณาพักโทษ และการพิจารณาพักการลงโทษควรให้อำนาจฝ่ายตุลาการเป็นผู้ทำการพิจารณาพักการลงโทษด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2566) ทฤษฎีการลงโทษ.ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 27 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/41716_6.pdf.

ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม. (2564). หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า

วรินทร กิจเจริญ. (2566). การพักการลงโทษโดยมีเงื่อนไขการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 23 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files.

วิสัย พฤกษะวัน, (2544). คำอธิบายพระราชบัญญัติราชทัณฑ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์ทิพย์อักษร.

ศรัญญา สีมา. (2566). การพักการลงโทษ. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https:// library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2566-dec6.

สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ และคณะ. (2555). การบรรเทาความเสียหายแก่ประชาชน กรณีศึกษาผู้ได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาในเรื่องการบุกรุกที่ดินของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม

Graeme Newman. (1979). The Punishment Response. Philadephia : J.B. Lippincott Company

Norman J. Swaton and Loren Morgan. (1980). Administration of Justice: An lntroduction New York: D. Van Norstrand company