การพัฒนาระบบบริการสุขภาพชายแดนและเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศเพื่อนบ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาพัฒนาระบบและประเมินระบบบริการสุขภาพชายแดนและเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 456 คนเป็นผู้รับผิดขอบงานสาธารณสุขชายแดน และแรงงานต่างด้าว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่กู้ชีพจากแขวงจำปาสัก เจ้าหน้าที่ด่านวังเต่า คณะทำงานพัฒนาช่องทางเข้าออกอำเภอชายแดนและเครือข่ายเมืองคู่มิตร และผู้รับบริการสาธารณสุขตามแนวชายแดนไทย-ลาว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการรับรู้ แบบบันทึกและแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาระบบบริการสุขภาพชายแดนและเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศเพื่อนบ้านประกอบด้วย (1) สภาพปัญหาระบบบริการตามแนวชายแดน จากการทบทวนเอกสารและข้อสรุปจากการสนทนากลุ่ม (Focus group) พบปัญหาทั้งด้านปัจเจกบุคคล สิ่งแวดล้อม และระบบบริการสาธารณสุข (2) ระบบบริการสุขภาพชายแดนประกอบด้วย 5 ด้านคือ ระบบบริการสุขภาพและการรักษาพยาบาล ระบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค ระบบการเข้าถึงบริการ ระบบความพันธ์ระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการ และระบบการบริการแบบองค์รวมและต่อเนื่องกลุ่มเป้าหมายมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในปานกลาง (Mean = 4.35,SD.= 0.36) และ (3) หลังจากพัฒนาระบบบริการแล้วผู้รับบริการตามแนวชายแดนไทย-ลาว มีความพึงพอใจต่อระบบบริการสุขภาพชายแดนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (50.3%)
Article Details
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ปี พ.ศ.2564. กระทรวงสาธารณสุข
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2565). แผนปฏิบัติการสาธารณสุขชายแดน พ.ศ.2565-2570. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ขวัญชัย พรหมฤทธิ์. (2566). รูปแบบการให้บริการสุขภาพชุมชนชายแดนไทย-ลาว อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 3 (1), 1-16.
วรรณรา ชื่นวัฒนา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการระบบสาธารณสุขขขายแดนประเทศไทยบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษตากเพื่อรองรับประชาคมอาเขียน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 10 (1), 237-45.
ณิรดา โพธิ์ยิ้ม, ถาวร สกุลพาณิชย์, พัชนี ธรรมวันนา, ภาสกร สวนเรือง และ ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์. (2566). สถานการณ์การจัดระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน:กรณีศึกษาจังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 32 (1), 84-95.
ประเวศ วะสี. (2549). ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.
พิษณุรักษ์ กันทวี, ภัทรพล มากมี, ทศพล เมืองอิน และ กนกวรรณ สุวรรณรงค์. (2563). การจัดการระบบสุขภาพชุมชนชายแดนไทย-ลาว กรณีศึกษาบริเวณชุมชนที่มีจุดผ่อนปรน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารควบคุมโรค. 46 (4), 579-94.
วรรณรา ชื่นวัฒนา และคณะ. (2557). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการจัดการระบบสาธารณสุขชายแดนประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สรชัย หลำสาคร. (2566). การพัฒนาต้นแบบและเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารแพทย์เขต 4-5. 42 (3), 457-70.
สุกัญญา บูอีตำ, ภัชชนก รัตนกรปรีดา และ วรพล หนูนุ่น .(2562). การรับรู้ความเสี่ยงทางสุขภาพของคนชายแดนไทย–มาเลเซีย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
อำพล จินดาวัฒนะ, สุรเกียรติ อาชานานุภาพ และ สุรณี พิพัฒน์โรจนกมล. (2551). การสร้างเสริมสุขภาพ:
แนวคิดหลักการและบทเรียนของไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
Benach J, Castedo A, Solar O, Martinez JM, Ver -gara M, Amable M, et al. (2010). Methods for the Study of employment relations and health inequalities in a global context. Int J Health Serv. 40, 209-13.
Frenk J, Gómez-Dantés O. (2014). Health systems in low- and middle-income countries. N Engl J Med. 37 (6), 552-7.
Kutzin J, Sparkes SP. (2016). Health systems strengthening, universal health coverage, health security and resilience. Bull World Health Organ. 94 (1), 2.
Chee G.( 2003). User fees, health financing, and utilization of health services in Cambodia. Bull World Health Organ. 81 (4), 252-7.
Jones G, Steketee RW, et al. (2015). How many child deaths can we prevent this year? Lancet. 362 (9377), 65-71.
Kamsook S, Thepsatitpong T. (2023). Cross-border health service trends for Lao nationals in Ubon Ratchathani,Thailand, 2020-2023. J Southeast Asian Public Health. 20 (2), 145-56.
Lao PDR Ministry of Health. (2022). Health service utilization by Lao nationals at Thai border hospitals: A review of Ubon Ratchathani services. Vientiane: Ministry of Health.
Ministry of Public Health, Thailand. (2022). Annual health report 2022. Nonthaburi: MOPH; 2022.National Health Security Office. Cross-border health services utilization report 2021-2022. Bangkok: NHSO.
Pungrassami P, Yanai H, et al. (2008). Tuberculosis and HIV co-infection in Thailand: an epidemiological study. Lancet. 371 (9616), 2108-16.
Smith J, Sachs JD, et al. (2007). Achieving health equity: from root causes to fair outcomes. Lancet. 370 (9593), 1153-63.
Tangcharoensathien V, Wibulpolprasert S, et al.(2013). Health policy and systems research in Thailand: addressing the quality of care and health workforce. Bull World Health
Organ. 91 (6), 424-31.
United Nations. (2015). Sustainable Development Goals. New York: UN.
Ubon Ratchathani Provincial Health Office. (2023). Annual report on cross-border health services for Lao nationals in Ubon Ratchathani.
World Health Organization. (2014).Strengthening health security by implementing the International Health Regulations (2005). Geneva: WHO.
World Health Organization. (2006). The World Health Report 2006: working together for health. Geneva: WHO.
World Health Organization. (2000). Health systems: improving performance. World Health Report 2000. Geneva: WHO.
World Bank. (2018). Global Monitoring Report 2018: progress toward the SDGs. Washington, DC: World Bank.
World Health Organization. (2023). Strengthening health systems at borders: case studies from Southeast Asia. Geneva: WHO.
Yeung S, Van Damme W, et al. (2013).The impact of border malaria: what is the evidence? Malar J. 12:46.