การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

พนม จองเฉลิมชัย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู วิธีการพัฒนารูปแบบใช้แนวทาง ADDIE Model ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณและหาประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 23 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบทักษะการคิดเชิงคำนวณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
           สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และตัวบ่งชี้ของทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ การแบ่งปัญหา การคิดเชิงนามธรรม การหาความสัมพันธ์ของรูปแบบ การออกแบบขั้นตอนวิธี และการแก้จุดบกพร่อง
2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักศึกษาวิชาชีพครู มี 5 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์ปัญหา หาความสัมพันธ์ของปัญหา วางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นนามธรรม แก้ปัญหาและหาจุดบกพร่อง และสรุปและประยุกต์ โดยผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.48) มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.54) 3) ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลการประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลกนก จั้นวันดี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่องหลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ในวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

จิตติมา เขียวพันธุ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน และคณะ. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาการสร้างสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 16 (1), 64-82.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพรรธน์ พละชีวะ และคณะ. (2566). การพัฒนาทักษะการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสำหรับครูโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 13 (1), 18-32.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขา ครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๕๖ ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). การผสมผสานแนวคิดเชิงคำนวณกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์. นิตยสาร สสวท. ปีที่ 49 ฉบับที่ 231 กรกฎาคม-สิงหาคม

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัย แนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและ การเรียนรู้

ของไทยในปี พ.ศ. 2573. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2560 – 2574). กรุงเทพมหานคร: สกศ.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษา 4.0. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Angeli et al. (2016). A K-6 Computational Thinking Curriculum Framework: Implications for Teacher Knowledge. Educational Technology & Society, 19 (3)

Barr, V., & Stephenson, C. (2011). Bringing computational thinking to K-12: What is Involved and What is the role of the computer science education Community. ACM Inroads, 2 (1), 48-54.

Coppelli, G. (2018). Economic globalization in the 21st century. Between globalization and de-globalization. Estudios Int. 50, 57–80.

Hylke H. Faber, Menno D. M. Wierdsma, Richard P. Doornbos; Jan S. van der Ven and Kevin de Vette. (2017). Teaching Computational Thinking to Primary School Students via Unplugged Programming Lessons. Journal of the European Teacher Education Network 2017, Vol. 12

Michell, W. E.; & Kowalik, T.F. (1999). Creative Problem Solving. (3rd ed.) [Workbook]

Munazza Yaqoob. (2012). Developing Creative Thinking: Using a Cognitive Teaching Model in Literature Classroom. Online. Retrieved May 17 2023, forn: http://ijl.cgpublisher. com/product/pub.30/prod.3245

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prikwarn Graphic. [in Thai]

Richey, R. C., Klein, J. D., & Tracey, M. W. (2011). The instructional design knowledge base. New York: Routledge.

Rodriguez Del Ray et al. (2020). Developing computational thinking with a module of solved problems. Computer Applications in Engineering Education, Vol 29, Issue3 Special Issue

Roungrong,P.,Kaewurai, R., Namoungon, S., Changkwanyeun, A., & Tengkew, S. (2018). Computational thinking with Thai education. Journal of Panyapiwat, 10 (3).

World Economic Forum. How to harness generative AI and other emerging technologies to close the opportunity gap. Online. Retrieved june 21, 2024, from: https://www. weforum.org/agenda/2024/06/genai-emerging-technologies-digital-skills/