การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อวิเคราะห์และพยากรณ์การผลิตมะพร้าว ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวรายใหญ่ ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพยากรณ์การผลิตมะพร้าว ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวรายใหญ่ ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อพัฒนาระบบระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อวิเคราะห์และพยากรณ์การผลิตมะพร้าว และ 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวรายใหญ่ จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิ แบบประเมินความเหมาะสมของระบบที่พัฒนาขึ้น และแบบประเมินผลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย วิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยการพยากรณ์ผลผลิตปัจจุบัน 3 วิธี คือ การวิเคราะห์ข้อมูลถดถอยเชิงเส้น, โมเดล XGBoost และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการพยากรณ์ผลผลิตในอนาคต 3 วิธี คือ การพยากรณ์ทางอนุกรมเวลาด้วยวิธี ARIMA (Box-Jenkins), โมเดล SARIMA และวิธีการปรับให้เรียบเอ๊กซ์โปเนเชียล แบบ Holt-Winters Exponential Smoothing
ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดล XGBoost มีประสิทธิภาพการพยากรณ์ผลผลิตปัจจุบันดีที่สุด (MSE=629.992, MAE=19.590, RMSE=25.099) ส่วนโมเดล SARIMA มีประสิทธิภาพการพยากรณ์ผลผลิตในอนาคต 3 ปีดีที่สุด (MSE=403.694, MAE=16.866, RMSE=20.092) 2) ผลประเมินความเหมาะสมของระบบธุรกิจอัจฉริยะจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งด้านมาตรฐานความเหมาะสม ( =4.80, S.D.=.249) มาตรฐานความเป็นประโยชน์ ( =4.70, S.D.=.274) และมาตรฐานความเป็นไปได้ ( =4.85, S.D.=.249) และมาตรฐานความถูกต้อง ( =4.87, S.D.=.183) 3) ผู้เข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย จำนวน 30 คน (96.77%) พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.33, S.D.=.606) โดย 3 ลำดับแรกที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านความแม่นยำของการพยากรณ์ ( =4.67, S.D.=.474) ด้านการใช้งานระบบ ( =4.52, S.D.=.601) และด้านการพัฒนาความรู้และทักษะ ( =4.52, S.D.=.599) อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กนกวรรณ สีเนหะ, วราปภา อารีราษฎร์ และกาญจนา ดงสงคราม. (2565). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแดชบอร์ด เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐานตำบลห้วยเตย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 8 (1), 78-89.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). ยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2579. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.agriman.doae.go.th/ home/agri1/agri1.3/strategics_2554/04_coconut%202561-2579.pdf.
กัลป์ยกร ศรีเจ๊ก และนรารัก บุญญานาม . (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 8 (1), 8-14.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
พรทิวา วิศิษฎ์สรอรรถ. (2564). ระบบวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาด้วยเทคนิคทางสถิติและการเรียนรู้ของเครื่อง. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่. วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี. (2557). การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 8 (1), 134-149.
ระบบบัญชีข้อมูล จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2567). ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://chachoengsao.gdcatalog.go.th/ro/ dataset/nabc-oae0001.
ระบบบัญชีข้อมูล จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2567). ปริมาณน้ำฝนรายเดือน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567.
แหล่งที่มา: https://chachoengsao.gdcatalog.go.th/dataset/data.
ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ. (2567). อุณหภูมิ และความกดอากาศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567.แหล่งที่มา: https://gdcatalog.go.th/dataset/gdpublish-28/resource/5ca416e9-80e1- 4a71-b974-44ffe860f7f0.
รุ่งนภา ศรีประโค. (2557). การลดปริมาณการขาดแคลนสินค้าโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ กรณีศึกษา บริษัท ไอ เซโล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยสาส์น.
สุรศักดิ์ พบวันดี และณัฎฐ์ โอธนาทรัพย์. (2566). การศึกษาเปรียบเทียบการพยากรณ์ระดับน้ำด้วยอัลกอริทึม ANN และ XGBoost กรณีศึกษาแม่น้ำป่าสัก. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 46. วันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2566. ดีวาน่า พลาซ่า กระบี่ อ่าวนาง จังหวัดกระบี่.
MacMillan, J.H. and Schumacher, S. (2001). Research in Education. A Conceptual Introduction. 5th Edition, Longman, Boston.
Likert, Rensis. (1932). "A Technique for the Measurement of Attitudes". Archives of Psychology. 140, 1–55
Yuk, W., & Thongkam, J. (2018). Comparison of Time Series Techniques for Predicting Gold and Oil Prices. RMUTI JOURNAL Science and Technology, 154-167.