แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลโรงเรียน ขนาดเล็ก กลุ่มโรงเรียนฟากท่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2

Main Article Content

ภาณุวัฒน์ แก้วพุฒ
หยกแก้ว กมลวรเดช
สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่ควรจะเป็นของการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล และเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล โรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มโรงเรียนฟากท่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ซึ่งผู้วิจัยดําเนินการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มโรงเรียนฟากท่า จำนวน 12 โรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหาร 8 คน คณะครู 84 คน รวม 92 คนปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นอยู่ของการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มโรงเรียนฟากท่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 โดยรวมและเป็นรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มโรงเรียนฟากท่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพของการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มโรงเรียนฟากท่า จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษาความต้องการจำเป็นของการนิเทศ ด้านการ วางแผนการนิเทศ ด้านการเตรียมการนิเทศ ด้านปฏิบัติการนิเทศ ด้านการประเมินผลและปรับปรุงการนิเทศ และด้านรายงานผลการนิเทศ       


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำชัย ยุกติชาติ. (2564) . การดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 2. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทิพวรรณ ถาวรโชต. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร

ธารทิพย์ ดำยศ. (2561) . การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ปฏิพัทธ์ น้อมสูงเนิน. (2564). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

ยุทธศักดิ์ หาดเคลือบ. (2564). รูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วราลักษณ์ อาจวิชัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วิชนีย์ ทศศะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

วรดนู หนูทอง. (2563). กระบวนการนิเทศการศึกษาของ โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายบางแพ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำเร็จ ยุรชัย และคณะ (2560). แนวทางการนิเทศภายในแบบส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 7 (ฉบับพิเศษ), 514-522.

อนุศิษฏ์ นากแก้ว. (2563). การนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2

อิฐ แย้มยิ้มและคณะ. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2