การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือ

Main Article Content

ประไพวรรณ ละอินทร์
ชูชีพ พุทธประเสริฐ
สำเนา หมื่นแจ่ม
ณัฐิยา ตันตรานนท์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สังเคราะห์และยืนยันองค์ประกอบและปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพฯ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือ ที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ 3) พิจารณายกร่างรูปแบบและตรวจสอบร่างร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพฯ และ 4) ประเมินร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 2) ผู้บริหาร และครูผู้สอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพฯ จากการสังเคราะห์ ตรวจสอบและยืนยัน พบว่า แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบใหญ่ 6 องค์ประกอบย่อย ตามผลการสังเคราะห์และยืนยันองค์ประกอบ ดังนี้ 1)  การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ 1.1 เป้าหมายการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  1.2 โครงสร้างหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 1.3 เครือข่ายและการจัดการความร่วมมือ 2)  การวางแผนการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ 3)  การใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ 3.1 การจัดกระบวนการเรียนรู้ฐานสมรรถนะพื้นฐานอาชีพ 3.2 สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 4)  การประเมินหลักสูตรฐานสมรรถนะ 4.1 การวัดผลและประเมินผล  ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพ มีจำนวน 7 ด้าน ดังนี้ 1)  ผู้บริหาร 2)  ครูและบุคลากรทางการศึกษา 3)  ผู้เรียน 4)  หลักสูตร 5)  กิจกรรมการเรียนการสอน 6)  แหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมอาชีพ และ 7)  เครือข่ายวิชาชีพ 2. แนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือ ที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พบว่า ได้ให้ความสำคัญกับหลักสูตรการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยจัดให้เหมาะกับเด็กแต่ละกลุ่ม วิธีการเรียนการสอนก็เปลี่ยนตามไปด้วย สถานศึกษาต้องปรับหลักสูตร ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ การใช้หลักสูตร มีส่วนร่วม ในการบริหารหลักสูตร มีทักษะในการออกแบบการเรียนจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามศักยภาพของผู้เรียน สามารถจัดสภาพแวดล้อม ผลิตสื่อ และจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่เน้นการปฏิบัติจริง และมีการวัดประเมินผลที่ยึดผู้เรียนเป็นเป้าหมาย สถานศึกษามุ่งแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการที่ผู้เรียนสนใจในการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ สามารถนำความรู้ไปใช้จริง รับผิดชอบต่อตัวเองให้ถึงเป้าหมาย สามารถออกแบบการเรียนและอาชีพในอนาคตของตนเองได้ 3. การพิจารณาตรวจสอบร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือ พบว่า รูปแบบการบริหารหลักสูตรฯ ประกอบด้วย 7 ส่วน ประกอบด้วย 1)  หลักการ 2)  จุดมุ่งหมาย 3)  ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะอาชีพ 4)  กระบวนการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพ 5)  พฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะอาชีพ 6)  การวัดผลประเมินผล และ 7)  เงื่อนไขความสำเร็จ โดยผลการพิจารณาตรวจสอบร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรฯ พบว่า โดยภาพรวมทุกรายการมีความถูกต้องและเหมาะสม และ 4. การประเมินร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบหลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาสังกัดสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือ พบว่า ร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรฯ โดยภาพรวมทุกรายการมีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์มีอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2551). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

กิริยา กุลกลการ. (2561). แรงงานไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษา.

พลวัฒน์ กัลยาประสิทธิ์. (2566). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประไพวรรณ ละอินทร์. (2565). หลักสูตรฐานสมรรถนะห้องเรียนสายอาชีพ ทางออกของการศึกษาไทยที่ไม่สูญเปล่า. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2. 3-4 มิถุนายน 2565. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. แพร่: ไทยอุตสาหการพิมพ์.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน ด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (5), 186-199.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.