ความคิดเห็นของผู้ปกครองและประชาชนที่มีต่อแนวทางการจัดตั้ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว

Main Article Content

ภานุมาศ ฉัตรพิทักษ์โชค
อาทิตยา โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ปกครองและประชาชนที่มีต่อแนวทางการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficeint) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.959 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จํานวน 180 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและการทดสอบค่าT-test และ F-test
          ผลการวิจัย พบว่า
          1) ความคิดเห็นของผู้ปกครองและประชาชนที่มีต่อแนวทางการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านสถานที่ตั้ง ด้านหลักสูตรและด้านค่าใช้จ่าย มีความคิดเห็นอยู่ในอยู่ในระดับปานกลาง ในภาพรวมผู้ปกครองเห็นว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทั้งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สถานที่ตั้งมีความเหมาะสม ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายการจัดตั้งการจัดตั้ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้วให้ผู้ปกครองและประชาชนรับทราบมากขึ้น
          2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองและประชาชนที่มีต่อแนวทางการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว กับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  มีระดับความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาพร สินทอง. (2560). ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ พระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/ abstractData /viewIn dex/ 104.r u.

กฤชเชาว์ นันทสุดแสวง. (2561). ความคิดเห็นของนิสิตต่อการประเมินการเรียนการสอนรายวิช ภาษาอังกฤษผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13 (2), 144-150.

ทนงศักดิ์ มิตรพร (2566) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่. วาสารนิสิตวัง. 25 (1), 110-119.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว. (2566). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนที่ 35 ง. หน้า 7-8.

พัชรวรรณ ผลิผล. (2560). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านมาบลาบิด (สง่าอุทิศ). วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูริชญา อินทรพรรณ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภูริชา อินทรพรรณ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ และ ศศิธร บัวทอง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ ราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12 (3), 270-283.

ลชนา ชมตระกูล (2550). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ลักษณาวรรณ โสภาพ. (2560). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อปัจจัยในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนศรีสุวิช. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการบริหารทั่วไปวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566-2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2567. แหล่งที่มา: https://skwpeo.moe. go.th/strategic-plan67/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2567. แหล่งที่มา: https://anyflip.com/syxno/ eogk/basic/101-116.

อานนท์ เลี้ยงพรหม (2564) ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (12), 255-268.

อารักษ์ โยธะการี (2564) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการปริหารจัดการด้านวิชาการของโรงเรียนวาสนาศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลวังสามหมออำเภอวังสาม หมอ จังหวัดอุดรธานี. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์. 6 (3), 161-170.