กลยุทธ์การปฏิบัติการเฝ้าระวังตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

สุรชัย มูลสาร
ภาสกร ดอกจันทร์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติการเฝ้าระวังฯ การศึกษาปัจจัยที่มีต่อ    กลยุทธ์การปฏิบัติการเฝ้าระวังตามนโยบายในการป้องกันฯ และ 3. เสนอกลยุทธ์ในการปฏิบัติการเฝ้าระวังฯ ในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยเปิดตารางกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan (1970) ได้จำนวนกลุ่มอย่างทั้งสิ้น 375 คน และเพิ่มอีก 25 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ในการวิจัยในเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติการเฝ้าระวังฯ ในสามอันดับแรก คือ ด้านมาตรการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ด้านมาตรการเฝ้าระวังในครัวเรือน และด้านมาตรการชุมชน ความคิดเห็นระดับปานกลาง 2) ปัจจัยการจัดการแบบมีส่วนร่วม ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน มีความสัมพันธ์กันกับกลยุทธ์การปฏิบัติการเฝ้าระวังฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลยุทธ์ในการปฏิบัติการเฝ้าระวังฯ สรุปว่าชุมชนควรยกระดับความเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับครอบครัวไปสู่ระดับชุมชน และสังคม รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการตรวจตราและคุมเข้มพื้นที่ในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติด ควรนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ และควรร่วมกันจัดทำแผนในการจัดอบรมเพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการจัดการปัญหายาเสพติดให้แก่ประชาชน และร่วมกันจัดกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2565). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: https://ratchakitcha. soc. go.th.

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. (2564). แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ศอ.ปส.ตชด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.bpp.go.th/ documents/2564/25640126_01.pdf.

ธงชัย สิงอุดม และ พระมหาสมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน. (2564). การป้องกัน และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน ของชุมชนในจังหวัดเลย. งานวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10 (1), 137 – 148.

ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตบางกอกใหญ่. (2564). โครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ปีงบประมาณ 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER041/GENERAL/ DATA0002/00002021. PDF.

พระสุทัศน์ พันธุ์ศุภผล. (2558). รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดชลบุรี. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ระพีพันธ์ โพนทอง, พรนภา เตียสุธิกุล และ ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2559). ผลการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

สมจิต ยาใจ. (2564). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดจันทบุรี. นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 32 (1), 224 -236.

สังคม ศุภรัตนกุล และ พัชราภรณ์ไชยศรี. (2564). การเฝ้าระวังเตือนภัยทางสังคมจากยาเสพติดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยง ของวัยรุ่น ในพื้นที่การแพร่ระบาดที่ควรเฝ้าระวัง จังหวัดอุดรธานี. งานวิจัยคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารช่อพะยอม. 32 (2), 60 – 78.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม (2564). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) กระทรวง

ยุติธรรม. (2565). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2566 – 2570). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.oncb.go.th/ Home/Publishing Images/ Pages/ONCB_PLAN/Policyactionplan/%E0%B8%99% E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%%2066-70.pdf

หนังสือพิมพ์บ้านเมืองออนไลน์. (2565). ข่าวภูมิภาค: ศอ.ปส.สระแก้ว เผยสถานการณ์ปัญหายาเสพติด อรัญประเทศยืนหนึ่งถูกจับมากสุด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.banmuang.co.th/news/region/298057.

อิสรภาพ มาเรือน และคณะ. (2559). รูปแบบการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ในชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. งานวิจัยรายงานฉบับสมบูรณ์ จากทุนสนับสนุนโดย แผนงานภาคีวิชาการสารเสพติด (ภวส.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เอกรัตน์ หามนตรี. (2561). ความสำเร็จของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชน ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดในจังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5 (2), 436 – 449.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.