การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณค่าวัฒนธรรมทวารวดี และสร้างแผนที่ทางวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วิรัตน์ ปิ่นแก้ว
วัลลี นวลหอม
ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข
ดวงดาว รุ่งเจริญเกียรติ

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกลไกและเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างสรรค์คุณค่าของทุนวัฒนธรรมทวารวดี และ 2) สร้างแผนที่วัฒนธรรมทวารวดี และสื่อการเรียนรู้ทวารวดีจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การสร้างกลไกและเครือข่ายความร่วมมือขับเคลื่อนทุนวัฒนธรรมทวารวดี ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 67 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และระยะที่ 2 การสร้างแผนที่วัฒนธรรมและสื่อการเรียนรู้ทวารวดีจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมทวารวดี 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมทวารวดีของชุมชน 3) กลุ่มผู้นำทางสังคม จำนวน 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และนักเรียนทดลองใช้สื่อการเรียนรู้ จำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบทดสอบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และคนในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ Dependent Samples ที่นัยสำคัญระดับ .05                
           ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย ส่วนราชการจังหวัดนครปฐม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา พระพุทธศาสนา นักวิชาการ ประชาชน และผู้ผลิตสินค้าทางวัฒนธรรม โดยกลไกความร่วมมือสรุปได้ 2 แนวทาง ดังนี้ 1. ความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานมี 9 ประเด็น 2.กลไกและแนวปฏิบัติในการดำเนินการขับเคลื่อนทุนวัฒนธรรมมี 4 ด้าน และการสร้างแผนที่วัฒนธรรมทวารวดีจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย 1) ทุนทางวัฒนธรรมทวารวดี 30 ทุน  2) ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 20 ทุน จำแนกเป็น 10 หมวดหมู่ และผลการทดลองใช้สื่อ พบว่า นักเรียนมีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนรู้จากสื่อวัฒนธรรมทวารวดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2548). โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. นนทบุรี: ส.พิจิตรการพิมพ์,

เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน. (2562). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและสร้างความตระหนักในการทำก๋วยเตี๋ยวโพธิ์ดก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27 (55), 5-22.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2553). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 28 (1), 53-64.

ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2550). มโนทัศน์สำคัญ ๆ ทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาในผลงานของ ปิแยร์ บูร์ดิเยอ.

ปิแอร์ บูร์ดิเยอ. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์, 1-12. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2561). การสร้างกลไก ความร่วมมือ เครือข่าย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 48-53.

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน),115-120.

ธิดา สาระยา. (2531). “การก่อตัวของรัฐในลุ่มแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมือง นครปฐม.” เมืองโบราณ. 14 (1), 83-92.

นฤมล บุณยนิติ. (2566). การบูรณะพระปฐมเจดีย์: กรณีศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์. วารสารศิลปกรรม. 10 (2), 50.

ผาสุข อินทราวุธ. (2527). ผลการขุดค้นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่จังหวัดสิงห์บุรีและนครปฐม. เมืองโบราณ 10 (4), 151-168.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2533). ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป,49-68

วรรณวีร์ บุญคุ้ม, ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ และ ผกามาส พะวงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 5 (2), 3-22.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2525). นครชัยศรี. เมืองโบราณ, 8 (3), 143-152.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2562). ศิลปะทวารวดีวัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, 15-32

ศูนย์มานุษยวิทยาสินรินธร. (2559). เสนเรือน.ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ9 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). ความสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ20 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/.

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2557). โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน. 93-98.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566. แหล่งที่มา : https://www.nesdc.go.th/ewt_ news.php?nid=13651.

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (2566). คู่มือการนำข้อมูลด้านวัฒนธรรมเข้าระบบฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและแผนที่วัฒนธรรม โปรแกรมนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร, 1-12 (เอกสารไม่ตีพิมพ์)

อคิน รพีพัฒน์ (2551). วัฒนธรรมคือความหมาย : ทฤษฎีและวิธีการของตลิฟฟอร์ด เกียร์ซ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 73-75.

Bourdieu, P. (1986). The Forms of Capital. In J. Richardson (Ed.), Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education (pp. 241-258).