แนวทางการนิเทศการศึกษาโดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้เป็นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการนิเทศการศึกษาโดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้เป็นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียน จำนวน 3 แห่ง ที่มีทุนทางระบบนิเวศต่างกันคือ ทุนภูมิศาสตร์ ทุนประวัติศาสตร์ และทุนวัฒนธรรม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และผู้นำชุมชน จำนวน 9 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาระบบนิเวศการเรียนรู้ พบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษาคือการขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็น เช่น ห้องเรียน อุปกรณ์การเรียน เทคโนโลยีที่ทันสมัย ข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสื่อสาร รวมถึงจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่เพียงพอ ชุมชนไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มที่ นักเรียนส่วนใหญ่ขาดการสนับสนุนทางการศึกษาจากครอบครัวเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้การบริหารจัดการระบบนิเวศการเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
2. แนวทางการนิเทศการศึกษาโดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้เป็นฐาน ใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ 1) สนับสนุนและให้ความร่วมมือจากทุกฝ่าย 2) จัดระบบและโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน 3) ผู้บริหารทุกระดับดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนได้ผลลัพธ์ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้เรียน 2) ด้านผู้สอน 3) ด้านเทคโนโลยี 4) ด้านชุมชน และ 5) ด้านสภาพแวดล้อม
Article Details
References
ทิพวรรณ ถาวรโชต. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธีีระ ราชาพล. (2567). ระบบนิเวศการเรียนรู้ของนักเรียนกับภาวะความพร้อมการศึกษาไทย. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 7 (2), 119-127. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024.19
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก.
พัชราพร พนมเขต, วจี ปัญญาใส และ พิมผกา ธรรมสิทธิ์ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เริงชัย ปรังเจะ (2565). การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA โครงการ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.kroobannok.com/createpdf_abstract.php?b_id=184601.
สถาพร สมอุทัย. (2565). การนิเทศการศึกษา: หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยการศึกษา. 5 (3), 275-289.
สรคุปต์ บุญเกษม, สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ และ วินัย รังสินันท์. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (1), 217-230.
สหประชาชาติ. (2566). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย : การศึกษาที่มีคุณภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://thailand.un.org/th/sdgs/4.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สภาพการจัดนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: เอส.บี.เค การพิมพ์.
อนันต์ นามทองต้น, นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2565). รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 5 (3), 92-109.
อภิชญา สวัสดี, ศศิธร หาสิน, และ กัลยารัตน์ สุขนันทาชนะ. (2565). แนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ภายในสถานศึกษารองรับการเรียนรู้เชิงรุก. e-Journal of Education Studies, Burapha University. 4 (4), 67-78.
Glickman, C. D. (1990). Supervision of Instruction. New York: Allyn and Bacon.
Good, C. V. (1993). Dictionary for Education. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill Book.
Tanner, D., & Tanner, L. (1987). Supervision in Education Problems and Practices. New York: Macmillan.