ฟิตเนส; ความพึงพอใจ; ส่วนประสมทางการตลาด; ฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พีรพัฒน์ ปิยะจันทร์
วิรัช สงวนวงศ์วาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 3) ศึกษาอิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดต่อระดับความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน และ4) ศึกษาปัญหาความพึงพอใจในด้านความสะดวก ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านคุณภาพการให้บริการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย วิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่าง ๆ ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลจากการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา อาชีพ ไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทราที่ต่างกัน 2) ความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทราโดยรวม อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 3) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยปัจจัยผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทรามากที่สุด ด้านรองลงมาคือ ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านราคาตามลำดับ 4) ความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนส ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นระดับมากเรียงตามลำดับ คือ ความพึงพอใจด้านคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจด้านความสะดวก ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ฤทธิ์ เลิศชัยรัตน์ และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. นิสิตปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไทยรัฐออนไลน์. (2567). เปิดเทรนด์สุขภาพ และการออกกำลังกายในปี 2567. ออนไลน์. 17 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https:// www.thairath.co.th/lifestyle/life/2755894

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น

มณีวรรณ ตั๊นไทย. (2533). พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต่อประชาชนที่มาติดต่อ. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์.(2541). การจัดการการตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทดวงกมลสมัยจำกัด. (2548).

การจัดการการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

วุฒิ สุขเจริญ. (2566). การออกแบบแบบสอบถาม : วิจัยการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด : การสื่อสารทางการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา (2565). รายงานสถิติฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2565. รายงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา. 2565. สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา.

สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2566). รายงานผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ. 2566 จังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ. 2566. 2566. สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา.

สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2566). สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกตามกลุ่มโรค10 อันดับแรก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษจิกายน 2566. แหล่งที่มา: https://cco.hdc.moph.go.th/hdc/ reports/report.php?&cat_id=4 91672 679818600345dc1833920051b2&id=65fdb98 bca9c344737fcb1fd4b64e9e5

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychology testing. New York: Harper & Row.

RYP9. (2567). ประเทศไทยคาดการณ์การขยายตัวกว่า 25% สำหรับธุรกิจในสายฟิตเนสและการจัดงานแข่งขันกีฬาในปี 2567 นี้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.ryt9. com/s/prg/3500218