การบูรณาการหลักสังคหวัตถุ 4 ในการทำเกษตรกรรมตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรบ้านหนองแซง ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พระมหาณัฐพล ทีฆายุโก
พระครูปริยัติพัฒนบัณฑิต
พระราชวัชรพัฒนบัณฑิต

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุ 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพการตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรบ้านหนองแซง ตำบล หนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักสังคหวัตถุ 4 ในการทำเกษตรกรรมตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรบ้านหนองแซง ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น เป็นเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บรวมรวมข้อมูลเอกสารและ จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 25 รูป/คน โดยวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
          ผลวิจัยพบว่า
           หลักสังคหวัตถุ 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา : ทานเป็นการเสียสละแบ่งปันเมล็ดพืชพันธุ์ในการผลิต ปิยวาจาเป็นการประสานงานและการจารจาเพื่อประสานไมตรีกับเครื่องข่าย อัตถจริยาเป็นการช่วยเหลือการสงเคราะห์และการเกื้อกูลกันและกันเพื่อประสูงสุดทั้งตนเองและสังคมและสมานัตตาเป็นการประพฤติตนอย่างสม่ำเสมอในการทำเกษตรร่วมกันหรือทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่น
           สภาพการทำเกษตรกรรมตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรบ้านหนองแซง ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น :   การปรับพื้นที่ให้เกิดความสมดุลพื้นที่ต้องการ ปลูก จัดตั้งการจัดสวัสดิการชุมชนของเกษตรกรบ้านหนองแซงเป็นกระบวนการของชุมชนที่สร้าง หลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชน โดยมุ่งเน้นการจัดการให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านแหล่งทุน การให้ความช่วยเหลือกันและกันฉันญาติมิตร มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ อยู่ร่วมกันอย่างมี ศักดิ์ศรีเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน
           การบูรณาการหลักสังคหวัตถุ 4 ในการทำเกษตรกรรมตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของ เกษตรกรบ้านหนองแซง ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น : การบูรณาการ หลักสังคหวัตถุ 4 ในการทำเกษตรกรรมตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ทานมีการให้ความสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในเรื่องวัสดุหรือพื้นพันธุ์ในชุมชนและเครือข่าย ปิยวาจา เป็นประสานและการนสื่อสาร เพื่อผลิตของชุมชน อัตถจริยาเป็นสร้างผลิตผลที่มุ่งความปลอดภัยของตนเองและสังคม สมานัตตา เป็นการสร้างกิจการเกษตรเพื่อการผลิตและการส่งผลผลิตสู่ตลาดร่วมกัน


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และคณะ. (2545). อุปสรรคด้านกฎหมายและนโยบายการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อความยากจนของคนไทย. รายงานวิจัย. สถาบันพระปกเกล้า: สถาบันพระปกเกล้า.

พระมหามีชัย กิจฺจสาโร (แสงคำภา). (2558). การสังคมสงเคราะห์ในพระไตรปิฎก. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมโชค คุตฺตธมฺโม (เกื้อกลิ่น)และคณะ. (2565). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการเสริมสร้างการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลเขาตอก อำเภอเคียนซาจังหวัดสุราษฎร์ธาน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.

รศ.ดร.พัฒนา สุขประเสริฐ. (2558). ก้าวย่างจากเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุเทพ พันประสิทธิ์. (2553). การศึกษาวิธีการผลิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรภาคกลาง. รายงานฉบับสมบูรณ์. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.