การควบคุมภายในและสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคกลาง

Main Article Content

สุกัญญา รักษาพล
กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์
ถิรวุฒิ ยังสุข
กิตติยา จิตต์อาจหาญ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคกลางและเพื่อศึกษาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคกลาง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 241 ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ


          ผลจากการศึกษาการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า การควบคุมภายใน ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม และสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน  การบัญชี ด้านด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความละเอียดรอบคอบ ด้านความชำนาญทางเทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


          จากการศึกษาจึงสามารถสรุปได้ว่า การปฏิบัติงานระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมภายใน และต้องมีสมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรม  ต้องมีความละเอียดรอบคอบมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการมีความทักษะความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี   จึงจะส่งผลให้การปฏิบัติมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญนันท์ บันลือทรัพย์. (2561). ผลกระทบจากความเป็นมืออาชีพทางการบัญชีที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์. 2 (2), 60-70.

กัลณี ด่านทองหลวง (2560). กัลณี ด่านทองหลาง. (2560). ผลกระทบของระบบการควบคุมภายในต่อผลการ

ดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. นครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

กานต์พิชชา เปี้ยสาย. (2562). ผลกระทบของการพัฒนาตนเองทางบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานทางบัญชีของผู้ทำบัญชีในอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนบน. วารสารวิทยาการ จัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 15 (1), 90-113

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. กรุงเทพมหานคร: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จิตติมา ขำดำ. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร. 39 (2), 52-65.

ธมลวรรณ เจนธนสาร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบ บริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) กรมปศุสัตว์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 17 (3), 77-96.

นิลุบล อิ่มทอง. (2561). การพัฒนาการตรวจสอบภายในและการควบคุมภายในของ หน่วยงานในสังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร แบบมุ่งประสิทธิผล วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 3 (1), 19-35.

บุญรวย นะเป๋า. (2556). สมรรถนะตามหลักมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพในการทำงาน : กรณีศึกษา นักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 2 (2), 1-9

ประภัสสร กิตติมโนรม. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ. วารสารจันทรเกษมสาร. 24 (47), 79-94.

พิมพ์ ฉัตรเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพและแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการ วิทยาลัยสัตพล. 6 (2), 162-171

วิไลลักษณ์ จิ้วเส้ง. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการนำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS มาใช้ : กรณีศึกษา กรมประมง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุพรรษา จิตต์มั่น. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพบัญชี ความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่น่าน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11 (11), 288-296.

Hsing Hwa Hsiung and Juo Lien Wang. (2014). Factors of Affecting Internal Control Benefits under ERP System an Empirical Study in Taiwan. International Business Research.

Inaam M.Al - Zwyalif. (2015). The Role of Internal Control in Enhancing Corporate Governance: Evidence from Jordan. International Journal of Business and Management.