บทบาทของป่าศักดิ์สิทธิ์ในฐานะเขตมรดกทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศ

Main Article Content

สมาพร เรืองสังข์

บทคัดย่อ

           ป่าศักดิ์สิทธิ์เป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณ ศูนย์รวมความเชื่อ ความศรัทธา และความเคารพยำเกรงต่อเทพเจ้าและภูติผี ชุมชนดูแลและปกป้องป่าโดยการกำหนดข้อห้ามในการเข้าถึงป่าและทรัพยากรภายในป่า ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าได้ จัดเป็นรูปแบบการอนุรักษ์ป่าที่มีประโยชน์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทความสำคัญของป่าศักดิ์สิทธิ์ด้านวัฒนธรรมและระบบนิเวศ สถานการณ์ปัจจุบัน ภาวะคุกคามและแนวทางการอนุรักษ์ป่าศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ป่าและวัฒนธรรมของชุมชนคงอยู่อย่างยั่งยืน โดยรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่าป่าศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทยและต่างประเทศมีความสัมพันธ์กับชุมชนในด้านการเป็นสถานที่แห่งจิตวิญญาณ วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ชุมชนเป็นผู้ดูแลจัดการป่า มีกฎระเบียบและวัฒนธรรมการบูชาป่า บูชาต้นไม้ บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในป่า สืบทอดจากบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน แตกต่างกันตามบริบทของท้องถิ่นและสภาพภูมิประเทศ ป่าศักดิ์สิทธิ์มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศ คงอยู่ได้ด้วยความศรัทธาของชุมชน การจัดการดูแลและปกป้องป่าโดยชุมชน แต่ปัจจุบันจำนวนและขนาดของป่าศักดิ์สิทธิ์ลดลงจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิถีชีวิต จำนวนประชากร การขยายตัวของสังคมเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม การเลือนหายของความศักดิ์สิทธิ์และวัฒนธรรมตามยุคสมัย ภัยคุกคามด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความคงอยู่อย่างยั่งยืนของป่าศักดิ์สิทธิ์ แนวทางแก้ไขเพื่ออนุรักษ์ป่าศักดิ์สิทธิ์ ทำได้โดยผลักดันให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าในรูปแบบป่าศักดิ์สิทธิ์ และส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ป่าศักดิ์สิทธิ์ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม ผสานกับการอนุรักษ์ด้วยวิธีการร่วมสมัย การให้ความรู้แก่สมาชิกในชุมชนและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธันวา ใจเที่ยง. (2017). ป่าศักดิ์สิทธิ์: คุณค่าและศักยภาพทางนิเวศของไม้พื้นถิ่นในป่าศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่าไทญ้อ บ้านหนองปะโอ จังหวัดกาฬสิทธุ์ ประเทศไทย. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences. 18 (1), 61-71.

ศุภวิชญ์ จิราพงษ์ และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบยั่งยืน. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (10), 441-458.

หัสชัย คงมีสุข, อาทิตย์ ภูผินผา และปุรเชษฐ บุญยัง. (2564). พื้นที่ทางจิตวิญญาณคนนครศรีธรรมราช. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยในภาคใต้ ครั้งที่ 1. 17 พฤศจิกายน 2564. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.

Daye, D. D. and Healey, J. R. (2015). Impacts of land-use change on sacred forests at the landscape scale. Global Ecology and Conservation. 3 (2015), 349-358.

Junsongduang, A., Balslev, H., Jampeetong, A., Inta, A. and Wangpakapattanawong, P. (2014). Woody Plant Diversity in Sacred Forests and Fallows in Chiang Mai, Thailand. Chiang Mai Journal of Science. 41 (51), 1132-1149.

Thecitizen.plus. (2024). สืบชะตาป่าโบราณกลางชุมชน “ป่าศักดิ์สิทธิ์จำปูดิน”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://thecitizen.plus/node/95441 .

Undaharta, N. K. E. and Wee, A. K. S. (2020). Policy forum: Sacred Forest-An opportunity to combine conservation management of threatened tree species with cultural preservation. Forest Policy and Economics. 121(special issue), 1-4.

Verschuuren, B., Mallarach , J. M. and Oviedo, G. (2007). IUCN World Commission on Protected Areas Task Force on Protected Area Categories: Sacred sites and protected areas. In IUCN Categories Summit. 7-11 May 2007. Andalusia, Spain.