การจัดการศึกษาแบบองค์รวม เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ในบริบทสังคมไทย

Main Article Content

ปวีณา คูราน่า
สิรินธร สินจินดาวงศ์
อรอุมา เจริญสุข

บทคัดย่อ

          ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก สู่ ‘BANI World’ โลกแห่งความเปราะบาง เต็มไปด้วยความวิตกกังวล และส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านอารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ การส่งเสริมความมั่นคงทางจิตใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้กับผู้เรียนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการจัดการศึกษาแบบองค์รวม จากโรงเรียนทางเลือก และ 2) สังเคราะห์การจัดการศึกษาแบบองค์รวม ที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในบริบทสังคมไทย เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Selection) ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนทางเลือก 3 แห่ง จำนวนรวม 11 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ในรูปแบบ (Intrinsic Case Study) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า (Triangulation)
          สรุปผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาการจัดการศึกษาแบบองค์รวม พบว่าเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนามนุษย์ในทุกมิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความรู้ ทักษะ ความสามารถ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิต และธรรมชาติอย่างมีความหมาย 2) ผลการสังเคราะห์การจัดการศึกษาแบบองค์รวม พบว่า ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เน้นบูรณาการ และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ออกแบบการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิด และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงกับสถานการณ์ และวิถีชีวิต เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมาย ส่งเสริมการร่วมกันเรียนรู้ระหว่างทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ทั้งนี้ ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ และคุณลักษณะทั้งภายใน และภายนอกให้เกิดกับผู้เรียน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพ โดยมีปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของการจัดการศึกษา ได้แก่ ความชัดเจนในหลักการของผู้บริหาร เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังมีความท้าทายที่เกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการศึกษาจากระดับสูง และการปรับกระบวนทัศน์ของครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบพุทธะ เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: คอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ -๒๕๘๐ (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

นุชนาฎ เนสุสินธุ์ และ ภัสสรา อินทรกำแหง. (2559). ครูประจำชั้น: กับการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 39 (4), 8-12.

ประภาภัทร นิยม. (2558). การศึกษาแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาศรมศิลป์.

พระปลัดสุรเชษฐ์ สุรเชฎโฐ. (2565). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8 (2), 441-447.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.

อนันท์ งามสะอาด. (2557). การพัฒนาผู้เรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Development of Students: HDS) คืออะไร?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566. http://www.phongphit.com/2013/index. php/2012.

Bai, H., Morgan, P., Scott, C., & Cohan, A. (2019). Holistic-contemplative pedagogy for 21st-century teacher education: Education as healing. In J. P. Miller, K. Nigh, M. J. Binder, B. Novak, & S. Crowell (Eds.). International handbook of holistic education. (pp. 233-240). New York: Routledge.

Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology. 3 (2), 77-101. https://doi.org/10.1191/1478088706qp063oa

Darling-Hammond, L., Hyler, M. E., & Gardner, M. (2017). Effective teacher professional development. Learning Policy Institute.

Fullan, M., & Quinn, J. (2016). Coherence: The right drivers in action for schools, districts, and systems. Corwin Press.

Johnson, A. (2023). Holistic learning theory: More than a philosophy. Journal of Contemplative and Holistic Education. 1 (2), 56-69.

Miller, J. (2019). The holistic curriculum (3rd ed.). University of Toronto Press.

Noddings, N. (2015). A richer, broader view of education: Fostering humane learning and understanding. Educational Horizons. 94 (1), 10-15.

OECD. (2019). Trends shaping education 2019. OECD Publishing.

Schleicher, A. (2018). World class: How to build a 21st-century school system. OECD Publishing.

Schwartz, K., & Sharpe, R. (2020). Holistic education and teacher development. Journal of Educational Change. 21 (4), 567-584.