แนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พิชญนันท์ วงษ์เนียม
วราภรณ์ ไทยมา
ภัทราวดี มากมี

บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัยตามมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) พัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัย และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัย มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 88 คน และครูปฐมวัย จำนวน 176 คน ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัย โดยนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มากำหนดแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน และระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัย โดยการสนทนากลุ่มและตอบแบบประเมิน จากผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน
             ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเอกชน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบย่อย 11 องค์ประกอบย่อย 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 24 แนวทาง ด้านการบริหารบุคลากร ประกอบด้วย 7 แนวทาง ด้านการบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย 8 แนวทาง และด้านการบริหารทั่วไป ประกอบด้วย 5 แนวทาง และ 3) ผลการประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นนวัตกรของเด็กปฐมวัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2567). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่. วารสารวิชาการรัตนบุศย์ (RATANABUTH JOURNAL). 5 (1), 58-74.

ญาณิศา บุญจิตร์ (2565) รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเสริมสร้างความเป็นนวัตกรของผู้เรียน. วารสารรัชติภาคย์. 16 (49), 114-129.

ทัศนีย์ แซ่ลิ้ม. (2560). Learning Commons: พื้นที่เรียนรู้ไร้กำแพง โมเดลห้องสมุดของศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.tkpark.or.th/tha/articles_ detail/317/Lear ning-Commons.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันยพร มณีฉาย, ชวนชม ชินะตังกูร และกมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2565). การบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7 (1), 751-764.

บุษบง ตันติวงศ์ และ ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2561). การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดและการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญญาภา วิไลวรรณ. (2566). นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาจรีย์ นาคะประทีป, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และ สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับโรงเรียนเอกชน. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7 (2), 208-216.

วันทนา ฤทธิยูง และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การระดมทรัพยากรทางการศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 5 (2), 134-148.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการวัดและประเมินทางการศึกษา. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9 (2), 273-282.

ศิริธร สุตตานนท์. (2566). นวัตกรตัวน้อย: ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์อย่างไรในวัยอนุบาล. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู. 3 (1), 1-15.

สมยศ พันธ์มา, ประกาศิต อานุภาพแสนยากร และสุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง. (2567). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 9 (1), 677-688.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21เซ็นจูรี่ จํากัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จำกัด.

สำลี ทองธิว. (2562). การบริหารจัดการหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (2), 193-213.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (1), 1-17.

อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2562). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bettinger, E., & Baker, R. (2014). The Effects of Student Coaching: An Evaluation of a Randomized Experiment in Student Advising. Educational Evaluation and Policy Analysis, 36 (1), 3–19.

Day, J. (2016). 10 qualities of great innovators. Retrieved from https://ideascale.com/10-qualities-of-great-innovators/

Day, J. (2016). The 10 Characteristics of Great Innovators. Retrieved from https://ideascale.com/10-qualities-of-great- innovators.

Edmonds, W.A., & Kennedy, T.D. (2017). An applied reference Guide to Research Designs:quantitative, qualitative, and mixed Methods. (2nd ed.). California: Sage Publications.

Nelson, R. (2012). Self-Improvement Guide. North Carolina : Lulu Press.

Plexico, C. (2018). Global Trends Necessitating a World Class Education. Dissertation Abstracts International.

Sutaphan, S., & Yuenyong, C. (2023). Enhancing grade eight students’ creative thinking in the waterstem education learning unit. Cakrawala Pendidikan: Jurnal Ilmiah Pendidikan, 42 (1), Retrieved from https://doi.org/10.21831/cp.v42i1.36621