การพัฒนาศักยภาพการจัดการทรัพยากรของชุมชนชาติพันธุ์พื้นที่สูงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านปางขอน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

เสถียร ฉันทะ
วรรัตน์ ขยันการ
สำราญ เชื้อเมืองพาน
สาโรจน์ ปัญญามงคล
อินทฤทธิ์ วุยยะกู่
จุมพล กิตติสาร
เสรี ศรีธิเลิศ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการทรัพยากรของชุมชนชาติพันธุ์พื้นที่สูงในการส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านปางขอน จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายคือตัวแทนครัวเรือน 157 ครัวเรือน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน 25 คน กลุ่มองค์กรในชุมชน คัดเลือกเข้าร่วมโดยความสมัครใจ ได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน จำนวน 15 คน ตัวแทนครัวเรือน 40 คน ตัวแทนเครือข่ายหน่วยงานจำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 85 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสังเกต แบบโครงสร้างคำถามนำ แบบประเมินชนบทอย่างมีส่วนร่วม ตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงเครื่องมือ การวิเคราะห์โดย SWOT Analysis และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าสมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาต่างๆของชุมชนและนำไปจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและหาทางออกเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาของชุมชนร่วมกัน การพัฒนาศักยภาพของชุมชนพบว่า ประการแรก การพัฒนาศักยภาพของคนเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดเนื่องจากคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการดำเนินงานต่างๆในชุมชน ประการที่สอง กลไกการขับเคลื่อนในชุมชน โดยชุมชนได้มีการสร้างกลไกในรูปแบบของคณะกรรมการหรือองค์กรชุมชนขึ้นมาทำหน้าที่ กำหนดบทบาท และแนวทางปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ประการที่สามการพัฒนาทรัพยากร พื้นที่เชิงกายภาพและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และประการสุดท้ายการสร้างภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.(2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.(2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2566-2570). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำนงชอบ และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์โดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ตำบลศรีนาวา จังหวัดนครนายก. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 5 (1), 1-18.

ณัฐธิดา จุมปา และ ธีรวัชร แก้วเปี้ย.(2563). การขับเคลื่อนการจัดการท่องเที่ยวบนฐานทุนชุมชนชาติพันธุ์ของตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ. 23 (1), 20-38.

ดวงพร อ่อนหวาน, สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์, สุพัตรา พรหมพิชัย และกาญจนา สมมิตร. (2560). การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนบนพื้นที่สูงโดยการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในเขตบริการศูนย์การเรียนรู้บ้านนาโต่ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. รายงานวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธิดารัตน์ สืบญาติ. (2566). กลไกการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย. 6 (2), 15-30.

ปิยาพร อภิสุนทรางกูร, ไทยโรจน์ พวงมณี, & อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ. (2018). แนวทางการจัดการท่องเที่ยว ชุมชนชาติพันธุ์ม้งบ้านตูบค้อ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. Journal of KMITL Business school. 8 (2), 15-28.

เมษ์ธาวิน พลโยธี, สุธาธิณี หนูเนียม และสุวิชาดา สกุลวานิชเจริญ.(2565). วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 18 (1), 1-25.

สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอน ตามพระราชดำริ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562.

เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2563). คู่มือท่องเที่ยวปางขอน: 10 โปรแกรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านปางขอน หมู่ที่ 7 ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย. โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. เชียงราย.

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมพู. (2561). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลห้วยชมภู (การท่องเที่ยวโดยชุมชน Community-Based Tourism) “หมู่บ้านปางขอน” หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. งานวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปลัด อบต.ห้วยชมภู. (เอกสารอัดสำเนา).

Fan, H., & Li, X. (2023). Research on the evolution of the governance logic of ethnic-minority villages from the perspective of tourism development—a case study of Longjing Village, Guizhou Province. Sustainability. 15 (4), 3187.

Hu, X. (2024).Supply Side Reform of Tourism in Ethnic Areas Empowers Common Wealth—Based on the Perspective of Tourism Human Resources. Applied Mathematics and Nonlinear Sciences. 9 (1).

Ibrahim, A. H., & Falola, J. A. (2021). Assessing The Factors That Can Enhance Or Hinder Community Support For Ethno-Cultural Tourism Development In Some Selected Local Government Areas Of Kaduna State. Fudma Journal Of Sciences. 5 (1), 85-93.

Lv, Z., Li, S., Dai, Y., Zhao, W., & Zhou, Z. On the Path of High Level Development of

Tourism and Cultural Industry in Ethnic Minority Regions--Based on the Rural Revitalization Strategy. Frontiers in Science and Engineering. 4 (4), 44-51.

Sitikarn, B. (2021). Development of ethnic tourism in poverty and drug deduction (the case study of Chiangrai Province, Thailand). In E3S Web of Conferences (Vol. 284, p. 10005). EDP Sciences.

Toh, P. S., Bagul, A. H. B. P., Sentian, J., & Dambul, R. (2012). Developing and promoting a highland community livelihood for sustainable tourism: The case of Kg. Bundutuhan, Ranau, Sabah. Geografia, 8 (5).