ประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดเขตบริการสุขภาพที่ 11

Main Article Content

วัฒนา แก้วแย้ม
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
ภาสกร ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผล ศึกษาปัจจัยที่ส่งผล และศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดเขตบริการสุขภาพที่ 11 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  (1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดเขตบริการสุขภาพที่ 11 จำนวน 250 คน คำนวณด้วยสูตร Krejcie and Morgan และสุ่มแบบโควตา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาระหว่าง 0.83-0.96 สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจงกลุ่มละ 9 คน และวิเคราะห์เนื้อหา ตีความ และสรุปแนวคิด
        ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ( =3.97) (2) ปัจจัยที่มีส่งผลต่อประสิทธิผลได้แก่ 1) ด้านงบประมาณ การเงิน และการจัดสรรทรัพยากร 2) ด้านนโยบายและแผนพัฒนาสาธารณสุข และคุณภาพชีวิติ และ 3) ด้านบุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.339, 0.299 และ 0.220 ตามลำดับ ค่า R2adj= 0.723 (ร้อยละ 72.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ คือ 1) ออกแบบระบบโครงสร้างองค์กรที่สอดคล้องกับระบบงานด้านสาธารณสุข 2) สร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข 3) การจัดสรรทรัพยากร งบประมาณที่เป็นธรรม 4) จัดทำแผนบริหารจัดการ งบประมาณร่วมกัน 5) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิถีของประชาชนในพื้นที่ 6) การสร้างความชัดเจน และการกำกับติดตามการดำเนินงานนโยบาย


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผล ศึกษาปัจจัยที่ส่งผล และศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดเขตบริการสุขภาพที่ 11 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  (1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดเขตบริการสุขภาพที่ 11 จำนวน 250 คน คำนวณด้วยสูตร Krejcie and Morgan และสุ่มแบบโควตา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาระหว่าง 0.83-0.96 สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจงกลุ่มละ 9 คน และวิเคราะห์เนื้อหา ตีความ และสรุปแนวคิด


          ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ( =3.97) (2) ปัจจัยที่มีส่งผลต่อประสิทธิผลได้แก่ 1) ด้านงบประมาณ การเงิน และการจัดสรรทรัพยากร 2) ด้านนโยบายและแผนพัฒนาสาธารณสุข และคุณภาพชีวิติ และ 3) ด้านบุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.339, 0.299 และ 0.220 ตามลำดับ ค่า R2adj= 0.723 (ร้อยละ 72.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ คือ 1) ออกแบบระบบโครงสร้างองค์กรที่สอดคล้องกับระบบงานด้านสาธารณสุข 2) สร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข 3) การจัดสรรทรัพยากร งบประมาณที่เป็นธรรม 4) จัดทำแผนบริหารจัดการ งบประมาณร่วมกัน 5) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิถีของประชาชนในพื้นที่ 6) การสร้างความชัดเจน และการกำกับติดตามการดำเนินงานนโยบาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนบสนับนบริการสุขภาพ. (2556). แนวทางการ

ดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. ม.ม.พ.

จักรกฤษ วงราษฏร์. (2555). การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข : ความเป็นมา สถานการณ์และ

แนวโน้มในอนาคต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 5(4). 530-538

จรวยพร ศรีศศลักษณ์, จเร วิชาไทย และรำไพ แก้ววิเชียร. (2552). ประสบการณ์การกระจาย

อำนาจด้านบริการสาธารณสุขในรูปแบบการถ่ายโอนสถานีอนามัย. วารสารวิจัยระบบ

สาธารณสุข, 3(1), 16-24

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎ

อุบลราชธานี. ม.ม.พ.

ปิยะวัฒน์ แสงบัณฑิต. (2558). ปัจจัยการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ส่งผลต่อการ

ให้บริการด้านสุขภาพกรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านัด อำเภอดำเนิน

สะดวก จังหวัดราชบุรี. [การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้

ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์].

พัชราพร พนมเขต, วจี ปัญญาใส และพิมผกา ธรรมสิทธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ

การบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(7)

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การวิเคราะห์เปรียบเทียบความหมายของการบริหาร การจัดการ.

. บริษัท เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. ม.ม.พ.

สมพันธ์ เตชะอธิก และพะเยาว์ นาคำ. (2552). สรุปบทเรียนและติดตามผลเพื่อพัฒนาระบบการถ่าย

โอนสถานีอนามัยไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 3(1).

อัญญารัตน์ ไสยจรัญ. (2557). กลยุทธ์การสร้างความพร้อมเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจด้าน

สาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาบัณฑิตศึกษา,11(53).

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2551). ก้าวที่ผ่านไป...บนเส้นทางการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ. ม.ม.พ.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2555). ถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

บทเรียนและข้อเสนอจาก HSRI Forum ใน จัดประชุม ‘สรุปบทเรียนและทิศทางใน

อนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2567, กุมภาพันธ์ 12). สรุปเส้นทางการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต.

ไปสู่ อบจ. https://www.hfocus.org/content/2023/12/29374.

สำนักบริหารการสาธารณสุข. (2559). คู่มือการปฏิบัติงาน หน่วยงาน สำนักบริหารการสาธารณสุข

คู่มือการปฏิบัติงาน : บริการสุขภาพ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและคุ้มครองผู้บริโภค).

สำนักพิมพ์บอร์น ทูบีพับลิชชิ่ง จำกัด.

Christine Kwamboka Nyakeriga. (2015). Factors influencing strategic plan

implementation in the newly established public Universities in Kenya.

(Master Thesis). South Eastern University.